บ้านช่างหล่อเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงด้านปฏิมากรรมหล่อพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน นับตั้งแต่สมัยพญามังรายเริ่มสร้างบ้านแปลงเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 1839 ซึ่งในตำนานกล่าวว่า พญามังรายได้นำช่างฝีมือมาจากเมืองหงสาวดีและมอญ ต่อมาในปี พ.ศ. 2101 พม่าได้ยึดครองเมืองเชียงใหม่ พร้อมกับกวาดต้อนช่างฝีมือกลับไปยังพม่าด้วยในฐานะเชลยศึก กระทั่งในสมัยพระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครล้านนาทำสงครามกับพม่า และได้รวบรวมช่างฝีมือต่างๆ มาจากลุ่มแม่น้ำสาละวินฝั่งตะวันตก เรียกว่า “ยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” บรรดาช่างฝีมือเหล่านี้ได้รับหน้าที่ช่างหลวง มีการตั้งบ้านเรือนอยู่รวมกันเป็นชุมชนต่างๆ เช่น ช่างหล่อ ช่างเปี๊ยะ ช่างเงิน เป็นต้น ตั้งอยู่ใกล้เคียงกันโดยรอบแนวกำแพงเมืองทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันในชื่อของประตูสวนปรุง
ในปัจจุบันที่ตั้งของชุมชนช่างหล่ออยู่ระหว่างประตูเชียงใหม่ และประตูสวนปรุง สำหรับชุมชนช่างหล่อนั้นได้เปลี่ยนสภาพจากหลายหลังคาเรือนทำการหล่อพระ กลายเป็นตึกอาคารสมัยใหม่ ประกอบอาชีพที่แตกต่างกันออกไป ช่างฝีมือบางคนได้ย้ายออกไปอยู่ตามชานเมือง คงเหลือช่างเพียงครัวเรือนเดียว คือ ครอบครัว สล่าอี๊ด หรือ นายชัยรัตน์ แก้วดวงแสง ที่ไดเสืบทอดการหล่อพระจากรุ่นปู่ รุ่นทวด ยาวนานมากว่า 100 ปี
สล่าอี๊ด หรือ นายชัยรัตน์ แก้วดวงแสง เกิดที่เชียงใหม่และโตที่เชียงใหม่ เป็นลูกช่างหล่อโดยแท้จริง ที่มาเริ่มปั้นพระแบบโบราณ ก็เริ่มทำมาได้ตั้งแต่อายุ 30 กว่าปีแล้ว สล่าอิ๊ดได้บอก ตอนยังตัวน้อยๆก็ยังได้เห็นพ่อแม่เขาทำมาก่อนแล้ว ถ้าหากให้พูดถึงตั้งแต่เริ่มแท้ๆ รุ่นที่พ่อสล่าอิ๊ดทำมานั้นก็ได้ทำมาหลายชั่วอายุแล้ว ตั้งแต่ถนนช่างหล่อเกิดขึ้น ก็ประมาณสัก 200 ปี ได้ ก่อนนั้นก็เหมือนกับว่าดั้งเดิมจากพ่อสู่พ่อของพ่อของพ่อ มาหลายรุ่น รุ่นสล่าอิ๊ดหรือลุงทินซึ่งเป็นญาติพี่น้องกันนี้ก็จะถือว่าอาจจะเป็นรุ่นที่ 5 แล้ว ซึ่งสล่าอิ๊ดได้บอกว่า อาจจะเป็นรุ่นสุดท้ายแล้วในการทำงานปั้นพระแบบโบราณนี้ หลังจากจบรุ่นสล่าอิ๊ดไป จะมีใครมาสืบสานต่อวัฒนธรรมการปั้น การหล่อ พระแบบโบราณนี้
สล่าอิ๊ดกล่าว ในสมัยที่สล่าอิ๊ดยังตัวน้อย อยู่นั่นก็ยังช่วยพ่ออยู่ ในสมัยนั้นสล่าอิ๊ดก็ยังเรียนหนังสืออยู่ แต่สล่าอิ๊ดคิดว่ามันเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษณ์และอีกส่วนหนึ่งคือการตลาด เพราะว่าการทำพระ ทางพ่อของสล่าอิ๊ดนั้นก็ ส่งไปทางกรุงเทพ และที่อื่นๆบ้าง เพราะสมัยนั้นสล่าอิ๊ดก็ได้ไปเรียนที่กรุงเทพ ก็เลยได้เข้าไปช่วยในเรื่องการตลาด การค้า การขาย สล่าอิ๊ดก็ไม่คิดว่าอาชีพในการทำพระนี้ คือมันจะยืนยาวมั่นคงไหม ในตอนนั้น สล่าอิ๊ดก็ได้คิดไปดูมา ว่าพ่อยังทำได้ สล่าอิ๊ดก็เลยมาร่วมกับน้องสืบสานจากพ่อมา อีกที สล่าอิ๊ดในตอนนั้นก็ยังเรียนหนังสืออยู่ยังไม่ค่อยได้สนใจอะไรมากนัก จนค่อยๆมาศึกษาการทำพระทีหลัง มาเริ่มต้นทำจริงจังเลยก็ อายุประมาณ 30 กว่า จนปัจจุบัน สล่าอิ๊ด อายุ 61 ปี
เริ่มมาจริงจังเริ่มมาศึกษา ค้นคว้า ตำรา ดูการทำตามวัด พิพิธภัณฑ์ เรียนรู้ให้จริงจังเลย ซึ่งการหล่อพระของสล่าอิ๊ดนี้ จะเป็นการหล่อแบบดั้งเดิม แบบโบราณแท้ๆเลย วัสุดแท้ๆเลยก็ จะมี ดินเหนียว แกลบ แกลบเหลือง แกลบดำ แล้วนำดินเหนียวมาผสมแล้วก็ปั้นขึ้นรูป ส่วนมากก็จะเป็นดินหมด เป็นเบ้า เป็นไห้ นี้ก็จะใช้ดินหมดเลย ภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น เพราะของภาพเหนือจะเป็นดินแบบโบราณ ใช้ดินแกลบ ส่วนในของทางใต้ กลาง จะเป็นดินไทย (ดินแบบผสมทราย) แล้วก็อาจจะใช้ปูนช่วย แต่ของภาคเหนือนี้จะเป็นดินล้วนๆดินผสมแกลบเบิง แกลบเหลือง เพราะโบราณรุ่นก่อนๆก็จะใช้แกลบเบิงกันเพราะว่าพระของทางนี้นั้นจะเน้นแบบของเก่า โบร่ำโบราณ จะเป็นแกลบเหลือง (แกลบข้าว) หมู่เซียนพระ ส่วนมากก็จะเล่นแต่พระแบบนี้ทั้งนั้น เหมือนแบบว่ายกพระมาดู ก้นฐาน ถ้าเป็นดินเป็นแกลบอาจจะเป็นพระโบราณ
ในปัจจุบันนี้มันก็เปลี่ยนไปเยอะ การทำพระ อาจจะเป็นในรูปลักษณ์ที่ว่า เป็นการทำโมเดล การทำพิมพ์ขึ้นมาเลย แต่ทางสล่าอิ๊ดนั้นก็ยังคงรูปลักษณ์ในการปั้นพระแบบล้านนาอยู่ ส่วนใหญ่จะเน้นเป็น พระสิงห์ เพราะเป็นพระประจำของบ้านเราอยู่แล้ว แล้วแต่ขนาด 7นิ้ว 9 นิ้ว 12 นิ้ว จนถึง 40-50 นิ้วขึ้นไป เวลาหล่อพระเสร็จ ได้สอบถามสล่าอิ๊ดว่า เวลานำพระออกไปได้ปิดตาพระไหม สล่าอิ๊ดบอกการปิดตาพระนี้ก็แล้วแต่ทางเจ้าภาพ หรือว่าทางวัด ส่วนใหญ่เขาจะมาเอาเองหรือทางสล่าอิ๊ดส่งไป หรือบางครั้งสถานที่ทางวัดอาจจะให้ไปหล่อ นอกสถานที่นั้นๆ หรือว่ามาทำพิธีที่โรงหล่อของสล่าอิ๊ด ในรูปลักษ์เฉพาะงานปั้น ถ้าหมดรุ่นสล่าอิ๊ดไปก็คงไม่เหลือใครสืบสานต่อแล้ว เพราะปัจจุบันเห็นลูกตัวเองแล้วก็คงจะไม่สนใจในทางนี้แล้ว แต่ก็ยังมีคนภายนอกที่ยังคงสนใจ เข้ามาเรียนรู้สืบสานวัฒนธรรมการหล่อพระ การปั้นพระแบบ โบราณของล้านนา แต่ก็ไม่รู้ว่าที่เขานั้นมารับความรู้ไปในภายภาคหน้านั้นเขาจะนำไปทำเป็นจริงจรังไหม สุดท้ายงานปั้นของสล่าอิ๊ดกล่าวว่าคงจะเป็นรุ่นสุดท้ายแล้วในงานปั้นคนปั้นของชุมชนช่างหล่อนี้ แต่ยังมีผลงานเหลือไว้ให้เห็นให้ได้ดูอยู่ตามวัด เป็นชื่อเสียงของตัวเองด้วย สิ่งที่สล่าอิ๊ด ดีใจอีกอย่างก็คือ พระโบราณของสล่าอิ๊ดนั้นได้ไป ภูฏาน ทางโน้นยังรู้คุณค่า พระสิงห์บ้านเรา และ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ยังได้ส่งตัวแทนมานำพระสิงห์กลับไปยัง ภูฏาน และ พระจากธิเบศ ก็มาศึกษาดูทำงานการหล่อพระปั้นพระโบราณ พระสิงห์ ที่โรงหล่อพระช่างหล่อนี้
พระพุทธรูปที่ ครอบครัว ล่าอี๊ด หรือ นายชัยรัตน์ แก้วดวงแสง หล่อขึ้นมาตั้งแต่สมัยรุ่นทวดรุ่นพ่อ นั้นยังได้นำไปไว้ใน พิพิธภัณฑ์ พระธาตุบูรพาจารย์ ของวัดสันติธรรม
อีกทั้ง พระพุทธที่สล่าอิ๊ดได้หล่อขึ้น สร้างขึ้นมา อีกหลายวัดยังได้นำไป ไว้ โดย จัด งานที่เรียกว่า "สวดพุทธมนต์ และเบิกเนตร โดยใช้ขี้ผึ้งเนื้อดีปิดดวงตาของพระพุทธรูป ใช้ผ้าขาวคลุม ขณะสวดพุทธมนต์ " ซึ่งงานเบิกเนตร มีล่าสุดไปเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2561 ที่ วัดเชียงมั่น เป็นพญามังราย ชื่อของพระพุทธรูปที่หล่อขึ้นมาคือ " พระเจ้า 777 ปี "ใช้เนื้อสำริด ทางญาติโยมนำเนื้อ นวโลหะมาร่วมหล่อด้วย เอามาฮอมในการหล่อขึ้น ของพระพญามังรายที่สร้างเมืองเชียงใหม่