top of page
รูปภาพนักเขียน.doc team

LONG GOY :วัฒนธรรมล้านนารูปแบบใหม่ คิดโดยคนรุ่นใหม่ และทำโดยคนรุ่นใหม่



วัฒนธรรมล้านนานิ่งมาเป็นเวลานานมากนิ่งสงบไร้การเคลื่อนไหวถ้าเปรียบเป็นชีพจรเราคงตองรีบทำ CPR กันอย่างเร่งด่วน ก่อนที่วัฒนธรรมล้านนาจะตายจากเราไปจริงๆ

ผมเป็นคนเชียงใหม่จึงได้เรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมล้านนาที่น่าตกใจคือแม้เราจะเกิดและโตที่นี่เรากลับไม่รู้อะไรเกี่ยวกับล้านนาเลยภาษาเขียนในรุ่นของผมไม่มีใครสักคนเดียวที่อ่านออกแต่เรามักจะได้ยินคำที่ผู้ใหญ่บอกให้อนุรักษ์วัฒนธรรมให้ทำตามแบบแผนเดิมๆจะทำให้วัฒนธรรมล้านนาไม่สูญหายไปผมตั้งคำถามกับตัวเองว่าการอนุรักษ์วัฒนธรรมนั้นจะเป็นการแก้ปัญหาจริงๆหรอ ?.... ถ้า มันเวิร์คมันคงไม่นิ่งจนน่าใจหายแบบนี้หรอกเพราะไม่มีเด็กสมัยใหม่คนไหนที่อยากทำตามแบบแผนเดิมๆเลยและการเล่าเรื่องแบบเดิมๆมักจะน่าเบื่อและด้วยวัฒนธรรมตะวนตกและเทคโนโลยีที่เข้ามาถึงเหมือนเด็กที่เจอน้ำอัดลมที่เข้ามาใหม่หอมหวานและซ่ากว่าน้ำใบบัวบกอันเดิมแน่นอนเราดื่มด่ำกับวัฒนธรรมต่างชาติที่เข้ามามาเจือปนจนวัฒนธรรมเดิมค่อยๆเจือจางเราจะปรับตัวต่อการคัดสรรค์ของยุคสมัยไปได้ยังไงเมื่อการอนุรักษ์ไม่ใช่คำตอบที่จะทำให้วัฒนธรรมล้านนาออกมาโลดแล่นในยุคสมัยใหม่ได้อีกต่อไป


1

ความหวังใหม่

หลังจากที่ผมตั้งคำถามกับตัวเองมาเป็นเวลาหลายปีเรื่องวัฒนธรรมที่กำลังหยุดนิ่ง จนได้มีโอกาศพูดคุยกับชายหนุ่มท่านหนึ่ง กล้า - ศุภกร สันคนาภรณ์ เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าล้านนาประยุคต์ Long goy ใจความสำคัญที่เขาพูดกับผม ประมาณว่า เพราะโลกเปิดกว้างมากขึ้น วัฒนธรรมเดิมไม่ใช่ วัฒนธรรมหลักอีกแล้ว เราเลยคิดว่าจะทำยังไงให้วัฒนธรรมล้านนาของเราที่ค่อนข้างนิ่ง ออกมาเคลื่อนไหวในสังคมสมัยใหม่บ้าง. แฟชั่นเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ เพราะต้องการให้ผู้คนเป็นพาหนะขับเคลื่อนวัฒนธรรมนี้ออกไป ให้เป็นมากกว่าเสื้อผ้าที่ใส่ในทุกๆวัน ให้เป็นเหมือนวัฒนธรรมเก่าที่มีอาวุธครบมือ พร้อมที่จะออกไปต่อสู้กับความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย " จริงๆ วัฒนธรรมของเราไม่ได้แย่หรือโบราณเลยนะ แค่มันนิ่ง และขาดการเล่าเรื่อง เราเลยจับมาทำรูปแบบใหม่ และเปลี่ยนวิธีการเล่าเรื่องใหม่ทำให้คนยุคนี้เข้าถึงได้มากขึ้น "


2

Long goy

ลองกอย แปลว่า ลองดู ลองทำดู เชิญให้มาดูในภาษาเหนือ และคำว่า Long ในภาษาอังกฤษ แปลว่ายาว สอดคล้องกันวัฒนธรรม ล้านนา ที่ยาวนาน เป็นการลองทำล้านนารูปแบบใหม่

"งานของเราจะแตกต่างที่ลวดลายซึ่งมาจาก เรื่องราวของทางเหนือ เช่น ภาษา ศิลปะ ซึ่งเรานำมาจัดวางใหม่ และใช้เทคนิคพิเศษในการสร้างลวดลาย ดีเทลจะถูกแต่งแต้มด้วยกลิ่นอายของล้านนา เช่น การใช้ด้ายสายสิญจ์มาปักเป็นลาย ใช้เหรียญสตางค์ของทางเหนือมาเจาะเป็นกระดุม หรือใช้ด่างทับทิมในการกัดสีเพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการที่เชียงใหม่ มีกลุ่มแม่บ้านที่ทำผ้าย้อมสีธรรมชาติอยู่แล้ว เราก็เลยให้เขามาทำผ้าให้ เป็นการช่วยสนับสนุนไปในตัว "


3

ปรับตัว

" ตอนแรกที่เริ่มทำโปรเจค คือเป็น thesis ของเรา เรามีเทคนิคที่อยากทำแล้ว เลยมาลองมองหาว่าจะทำอะไรดี แล้วก็กลับมามองที่บ้านของเราคือเชียงใหม่ เราเห็นวัฒนธรรมที่คุ้นชินตา จนเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับมัน เราจึงหาวิธีการเล่าเรื่องใหม่ โดยการยืมวัฒนธรรมญี่ปุ่นมา เพราะม่อฮ่อมปกติ ก็ไม่ฉีกไม่แตกต่าง คนก็ไม่ได้สนใจ ก็เลยเอาญี่ปุ่นมา เพราะ ญี่ปุ่นเล่าเรื่องวัฒนธรรมได้ดี ก็เลยยืมฟอร์มมา แล้วเล่าความเป็นล้านนาลงไป ใช้ภาษาบ้าง ลวดลายดอกไม้ต่างๆบ้าง "


4

ลวดลาย

" ลวดลายจำเป็นต้องเยอะ เพราะว่าต้องการใส่ เรื่องราวลงไป และ อยากให้เป็น street wear ลายกราฟฟิคจึงต้องเยอะ พอพูดถึงลายกราฟฟิค อย่างแรกเลยที่ง่ายที่สุดคือ ภาษา ที่เราพูดๆ กันอยู่ทุกวันเนี่ย ถ้าเรายังพูดอยู่ภาษามันก็ไม่หายไป แต่ก็มีภาษาที่ตายไปแล้วมากมาย บนโลกนี้ ล้านนา เป็นหนึ่งในนั้น ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็น แล้ว น้อยมากนะ ที่คนรุ่นใหม่จะรู้ตัวหนังสือเขียน ล้านนา แต่ตัวเขียนมันไม่ค่อยเฟรนลี่ต่อการออกแบบเท่าไหร่ มันตวัดดูเป็นเหมือนยันต์ ก็เลยเอามาทำ font ใหม่ แต่ก็ยังคงความเป็นล้านนาเดิมไว้อยู่ "




5

Gate

"เราก็ไม่ได้หวังให้คนเข้าใจ ตัวหนังสือที่มันอยู่บนงานเราหรอกนะ แค่อยากให้มันเป็นเหมือนกุญแจเปิดไปสู่ข้อมูลเฉยๆ ถ้าบางคนที่สนใจเข้าใจ concept งานเรา เขาก็จะไปศึกษาวัฒธรรมนี้ต่อเอง ตอนนี้ก็คงเป็นหน้าที่ของแบบแผนเดิมแล้วแหละที่จะแสดงประวัติศาสตร์อันสวยงามให้ผู้ที่สนใจเข้าใจวัฒนธรรมเราที่แท้จริง"



ดู 328 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
bottom of page