top of page
  • รูปภาพนักเขียน.doc team

ถ่ายทอดความคิดของชาวอาทิตย์อุทัย สู่การเป็นผู้อาศัยในดินแดนล้านนา


ในปัจจุบันเราสามารถพบเห็นชาวญี่ปุ่นมากขึ้นในชีวิตประจำวัน ทั้งในตัวเมืองตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ตลอดไปจนถึงร้านอาหารในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีแนวโน้ม ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นมีมากขึ้น ชาวญี่ปุ่นที่เราพบเห็นในเมืองเชียงใหม่นี้ไม่ได้มีเพียงกลุ่มที่เป็นนักท่องเที่ยวระยะสั้นเท่านั้น แต่ยังมีชาวญี่ปุ่นอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องการพำนักระยะยาวและ ต้องการลงหลักปักฐานใช้ชีวิตที่จังหวัดเชียงใหม่

“การพำนักระยะยาว” หรือ “long stay tourisms” ตามความหมายท่ีให้ไว้โดยการท่องเท่ียว แห่งประเทศไทย (2554) หมายถึง การพำนักระยะ ยาวในต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการพัก ผ่อน เน้นการใช้ชีวิตประจาวันเป็นกิจกรรมหลัก และ การท่องเท่ียวเป็นกิจกรรมเสริม มีคนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยที่เลือกการพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่ และยังไม่รวมถึงการ อพยพย้ายถิ่นน การต้ังถิ่นท่ีอยู่อาศัยถาวร หรือการ เข้ามาเพื่อประกอบอาชีพในจังหวัดเชียงใหม่

เราจึงมีความสนใจว่าทำไมจังหวัดเชียงใหม่ถึงเป็นตัวเลือกที่คนญี่ปุ่น เลือกจะมาใช้ชีวิตอยู่ที่นี้เป็นอันดับต้นๆ และอะไรคือตัวแปรสำคัญที่พวกเขาเหล่านั้นตัดสินใจ ละทิ้งความเจริญจากประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีแนวหน้าของโลก วัฒนธรรมอันโด่ดเด่นและงดงาม มาตั้งหลักปักฐานอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่แห่งนี้

โดยวันนี้เราได้มีโอกาศพูดคุยกับ คุณ บิน ทากาฮาชิ ชายชาวญี่ปุ่นที่ตัดสินใจย้ายมาอยู่อาศัยในประเทศไทยตั้งแต่ปี 1991 โดยในปีนี้ถือเป็นการอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นปีที่ 27 ของเขา พร้อมทั้งไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการที่คนญี่ปุ่น เลือกจะมาใช้ชีวิตอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่แห่งนี้


คุณ บิน ทากาฮาชิ ก่อนที่เขาจะย้ายเข้ามาอาศัยในประเทศไทยนั้นในอดีตนั้นหลังจากที่เขาจบมหาวิทยาลัยก็ทำงานบริษัทเครื่องเสียง Pioneer ที่ญี่ปุ่นนาน 3 ปี หลังจากนั้นด้วยความเป็นคนชอบดนตรีจึงตัดสินใจผันตัวมาเป็นบรรณาธิการนิตยสารดนตรีละตินอเมริกาและแอฟริกานาน 7 ปี ได้มีโอกาสท่องเที่ยวแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ที่ชอบและน่าอยู่ที่สุดคือภาคเหนือของไทยและบาหลี หลังจากกลับบ้านไปทำงาน 1 ปี ก็ตัดสินใจมาอยู่เมืองไทย

ในส่วนของการตัดสินใจย้ายมาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่นั้น เขาเล่าให้เราฟังว่า ในตอนแรกที่มาเมืองไทย รู้สึกไม่ค่อยชอบเชียงใหม่หรือกรุงเทพฯเพราะเป็นเมืองใหญ่ เขาชอบเมืองที่เป็นชนบท อยากไปอยู่แม่ฮ่องสอน ปางมะผ้าที่อยู่ระหว่างปายกับแม่ฮ่องสอน เมื่อก่อนนั้นนักท่องเที่ยวชอบไป แต่ถนนยังไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ไฟฟ้าก็ยังไม่มีใช้ พักที่เกสเฮ้าส์เล็ก ๆ ที่หมู่บ้านชาวลีซอ ครั้งแรกเขาพูดไทยไม่ได้เลย ครั้งแรกเขาพูดภาษาลีซอก่อน มีเพื่อนชาวญี่ปุ่นอยากสร้างที่พักตากอากาศสำหรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นให้มาพักเฉพาะช่วงฤดูหนาวที่เชียงดาว ตอนนั้นพอว่างงานจึงผันตัวมาเป็นผู้จัดการดูแลบริษัทและดูแลที่พักนาน 4 ปี ตอนนั้นชาวญี่ปุ่นไม่ค่อยรู้จักเชียงดาวจึงไม่ค่อยมีแขกมาพัก ทำให้รายได้ไม่พอจึงเปลี่ยนอาชีพมาเป็นอาจารย์สอนภาษาญี่ปุ่นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้นาน 2 ปี หลังจากนั้นเพื่อนชาวญี่ปุ่นชวนมาทำหนังสือพิมพ์แจกฟรีที่เชียงใหม่จึงตัดสินใจร่วมงานและได้ทำงานนี้จนถึงปัจจุบัน


โดยหนังสือพิมพ์ที่ว่านั้นก็คือหนังสือพมพ์ Chao เป็นหนังสือพิมพ์แจกฟรีสำหรับชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในเชียงใหม่ และนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ เขาเล่าว่า หนังสือพิมพ์ Chao นั้นทำมาประมาณ 15 ปีแล้ว ทำมามากกว่า 300 ฉบับแล้ว ออกเป็นรายปักษ์ เดือนละ 2 ครั้ง วันที่ 10 และ 25 ของทุกเดือน ช่วงแรกหนังสือพิมพ์ไม่มีโฆษณาและเพื่อนยังไม่มีประสบการณ์ในการทำหนังสือพิมพ์มากนักทำให้หนังสือพิมพ์ขาดเงินทุนในการตีพิมพ์ให้เพียงพอกับความต้องการ ช่วงหลังมานี้จึงมีพื้นที่โฆษณาด้วยเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และในส่วนการทำงานนั้น ทีมงานจะมีการประชุมเลือกหัวข้อแล้วแบ่งกันทำคอลัมน์ตามความสนใจและถนัดของนักเขียนแต่ละคน ส่วนใหญ่เน้นเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมเป็นหลัก


และคำถามที่ยังข้างคาสำหรับเรานั้นก็คือทำไมจังหวัดเชียงใหม่ถึงเป็นตัวเลือกที่คนญี่ปุ่น เลือกจะมาใช้ชีวิตอยู่ที่นี้เป็นอันดับต้นๆ และอะไรคือตัวแปรสำคัญที่พวกเขาเหล่านั้นตัดสินใจ ละทิ้งความเจริญจากประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีแนวหน้าของโลก วัฒนธรรมอันโด่ดเด่นและงดงาม มาตั้งหลักปักฐานอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่แห่งนี้ โดยคุณบินกล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่นั้นน่าอยู่ มีโรงพยาบาลที่มีคุณภาพหลายโรงพยาบาลเหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพบ่อยๆ การจราจรไม่ค่อยมีปัญหาไม่มีรถติดเท่ากรุงเทพฯ มีรถเมล์สาธารณะที่สะดวกแต่มีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการ ที่เชียงใหม่สามารถปั่นจักรยานได้ มี Motor bike ให้ใช้ เชียงใหม่มีวัฒนธรรมน่าสนใจ ในเรื่องการทำงานก็มีงานที่นิคมอุตสาหกรรมลำพูนรองรับ สามารถทำงานสอนภาษาและงานอื่นๆ แต่ก็ยังมีผู้สูงอายุบางคนที่มีอายุมากและมีโรคประจำตัวมักจะเลือกกลับไปรักษาตัวที่ญี่ปุ่นเพราะมีประกันสุขภาพและต้องการเสียชีวิตที่บ้านเกิด และผู้หญิงญี่ปุ่นที่แต่งงานกับผู้ชายไทยมักจะอยู่ที่เชียงใหม่ถาวร กลับไปญี่ปุ่นบางครั้งเพื่อเยี่ยมญาติพี่น้อง ผู้หญิงญี่ปุ่นส่วนใหญ่นั้นจะสนใจวัฒนธรรมและที่นิยมมากคือการทอผ้า


ทั้งนี้กลุ่มคนญี่ปุ่นที่มาอยู่เชียงใหม่เป็นกลุ่มคนผู้สูงอายุหรือคนเกษียณอายุ คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่นิยมลาออกจากงานก่อนเกษียณ อายุ 55 ปีก็หยุดทำงาน ในอดีตการขอวีซ่าทำได้ง่ายมากแต่เมื่อมีชาวญี่ปุ่นมาอยู่ในไทยและขอวีซ่าแบบผู้พำนักระยะยาวมากขึ้น ทางราชการจึงมีข้อกำหนดมากขึ้นทำให้ขอวีซ่ายากขึ้น คนที่ต้องการขอวีซ่าแบบผู้พำนักระยะยาวต้องมีเงินในบัญชีธนาคารมากกว่า 8 แสนบาท แต่ถ้าเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนก็จะมีข้อกำหนดและข้อยกเว้นต่างออกไป คุณบินทากาฮาชิ ยังเล่าให้ฟังถึงความต่างของเชียงใหม่กับญี่ปุ่นไว้ว่า เมื่อ 20 ปีที่แล้วต่างกันเยอะมาก ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่อยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมลำพูนมากเชียงใหม่ หลังจากนั้นผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นก็เริ่มมาอยู่ที่เชียงใหม่มากขึ้นเพราะบางคนคิดว่าที่เมืองไทยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ถูกกว่าที่ญี่ปุ่นและอากาศไม่หนาวมากเท่าญี่ปุ่น หลังจากที่เราทราบเรื่องราวต่างๆเราจึงถามคุณบินว่า ชาวญี่ปุ่นในเชียงใหม่มีการรวมตัวหรือมีการนัดทำกิจกรรมอะไรบ้างหรือไม่ คุณบินบอกว่า ชาวญี่ปุ่นมีการตั้งชมรมต่างๆ เช่น ชมรม Chiang Mai Long Stay Life Club ชมรมคนญี่ปุ่นที่ทำงานนิคมอุตสาหกรรมลำพูน ชมรมคาราโอเกะ ชมรมถ่ายภาพ ฯลฯ เพื่อทำการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน


หลังจากการพูดคุยในครั้งนี้ทำให้เราคลายข้อสงสัยต่างๆได้อย่างแจ่มแจ้ง และยังทำให้เราเห็นถึงความสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ของเรานั้น ยังมีแง่มุมดีๆที่สามารถสร้างความมั่นใจให้ชาวญีปุ่นได้ ทำให้เค้าสามารถตัดสินใจได้ว่าต้องการมาตั้งหลักปักฐานอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่แห่งนี้


ดู 464 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page