"มังคละสหลี๋เวียงแก้วเจียงใหม่เมืองงาม"
คือ โครงการเขียนภาพวัดด้วยสีน้ำในเขตกำแพงเมืองชั้นใน (คูเมืองด้านใน) จำนวน 38 วัด
โดยโครงการนี้เริ่มจาก อ.บุญรัตน์ ณ วิชัย ประธานกลุ่มส่งเสริมสล่าล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีสล่าในความดูแลหลายแขนง ซึ่งกลุ่มสีน้ำจังหวัดเชียงใหม่ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มส่งเสริมสล่าล้านนา
ด้วยเช่นกัน และอยากที่สร้างผลงานที่รองรับการยกย่องจากองค์กร UNESCO ให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ในโครงการมีศิลปินผู้ลงชื่อเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 44 ท่าน และให้แต่ละท่านจับฉลากเลือกวัด
ที่จะได้รับผิดชอบเขียนภาพสีน้ำ โดยส่วนใหญ่จะให้ศิลปินแต่ละท่าน
นัดวันและเวลาที่จะไปเขียนภาพสีน้ำแบบสด ๆ ในสถานที่จริง
กิจกรรมนี้ได้เริ่มมาตั้งแต่ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 จนมาแล้วเสร็จ
ในวันที่ 5 เมษายนพ.ศ. 2561 เป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือน
ซึ่งจะมีศิลปินบางท่านที่ไม่ถนัดเขียนภาพสด ทางกลุ่มเลยอนุโลมให้เขียนจากภาพถ่ายได้
และมีกำหนดส่งและรวบรวมผลงานใน วันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2561 ผลงานทั้งหมดนั้นจะรวบรวม
เพื่อนำไปจัดแสดงใน วันที่ 28 เษายน - 7 พฤษภาคม พ.ศ.2561 ที่ เซ็นทรัลเฟสติวัล จังหวัดเชียงใหม่ เป็นระยะเวลา 10 วัน และอาจจะนำไปจัดแสดงในสถานที่อื่นๆต่อไป
ภาพบรรยายการ การเขียนสีน้ำ ณ สถานที่จริง วัดปราสาท
ซึ่งผู้รับผิดชอบโครงการนี้คือ นาย เชิดชาย ศรีวิชัย (สล่าตุ๋ย แต้มงาม) อายุ 49 ปี
ประธานกลุ่มสีน้ำจังหวัดเชียงใหม่ อาชีพ ศิลปินอิสระ
นาย เชิดชาย ศรีวิชย (สล่าตุ๋ย แต้มงาม) ประธานกลุ่มสีน้ำจังหวัดเชียงใหม่
ได้ให้สัมภาษณ์ว่า "โครงการนี้ได้การสนับสนุนมาจากโรงเรียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา
และโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO
สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เลยตั้งโจทย์ไว้ว่าจะเขียนเมืองเก่าหรือเขตด้านในคูเมืองเชียงใหม่ โดยเริ่มจากการเขียนวัด"
นาย เชิดชาย ศรีวิชย (สล่าตุ๋ย แต้มงาม) ประธานกลุ่มสีน้ำจังหวัดเชียงใหม่
และยังพูดถึงวัตถุประสงค์ที่ทางกลุ่มสีน้ำจังหวัดเชียงใหม่ต่อโครงการนี้
"หลักๆที่สำคัญเลยก็คือสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่รอบรับมรดกโลกของขององค์การ ยูเนสโก ที่เชียงใหม่ได้รับรางวัลเมืองสร้างสรรค์และเผยแพร่ทั้งประวัติและความเป็นมาของวัดในเชียงใหม่ให้ทั้งคนในเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวได้รับรู้และเข้าใจถึงความสำคัญ เพราะส่วนมากคนจะไม่รู้ว่าวัดแต่ละวัดมีอะไรบ้างหรือมีความเป็นมาอย่างไร บางทีคนก็เข้าใจว่าเป็นวัดเดียวกัน เพราะอยู่ติดกัน ใกล้กัน ชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกัน หรือมีเอกลักษณ์ที่คล้ายกัน เราก็ถือโอกาสใช้งานศิลปะในการเผยแพร่ประวัติของแต่ละวัด ทั้งยังเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวของเมืองเชียงใหม่อีกด้วย"
"และในฝั่งของตัวศิลปินแล้วก็ยังทำให้คนที่ชื่นชอบสีน้ำมารวมตัวกัน ซึ่งในกลุ่มก็จะมีทั้งคนที่อายุน้อยไปจนถึงวัยเกษียณอายุ หรือแม้แต่คนที่ชื่นชอบสีน้ำแต่ไม่ได้เรียนด้านนี้มาโดยตรง ให้พวกเขาได้ออกมาพบปะและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันผ่านโครงการนี้ โดยเฉพาะวัยเกษียรที่เบื่อกับการอยู่บ้านเฉย ๆ ให้เขาได้ออกมาสร้างสรรค์ผลงาน รวมไปถึงศิลปินสีน้ำระดับโลกของเมืองไทย
อย่างเช่น อ.ธนกร ไชยจินดา มาร่วมกิจกรรมนี้ ทำให้ดึงดูดผู้คนที่ชื่นชอบในผลงานของพวกเขา
มาเข้าร่วมโครงการนี้ด้วย และน่าจะมีประโยชน์ต่อกลุ่มคนที่ชอบศิลปะด้วยเช่นกัน"
อ. ธนกร ไชยจินดา ศิลปินสีน้ำระดับโลก
และที่สำคัญที่ตัวสล่าตุ๋ยต้องการนั้นคือ
"อยากให้เชียงใหม่มีชื่อเสียงทางด้านนี้ด้วย ให้เป็นภาพจำของผู้คนว่า “เมื่อนึกถึงสีน้ำ ให้นึกถึงเชียงใหม่” "
และกิจกรรมในครั้งนี้ยังมีศิลปินอีกจำนวนหนึ่งที่น่าสนใจ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีชื่อเสียงในระดับโลก
แต่กลับมีความน่าสนใจและโดดเด่นในผลงาน ตัวอย่างเช่น นาย รังสรรค์ วังสาร ผู้รับผิดชอบวาดวัดทรายมูลพม่า ซึ่งมีเอกลักษณ์ในการใช้สีน้ำที่แตกต่างจากท่านอื่นๆ ด้วยความที่เขาตาบอดสี ทำให้ผลงานดูสะดุดา และนาย ปรัชญา มอญไข่ นักศึกษาปริญญาโทและศิษย์เก่า คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัเชียงใหม่ ที่มาร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ ตัวเขาไม่ได้เป็นสมาชิกในกลุ่มสีน้ำตั้งแต่แรก แ่มาเจอกับสล่าต๋ยและสมาชิกท่านอื่นๆโดยบังเอิญขณะกำลังวาดภาพนอกสถานที่ และได้เสนอตัวเข้าร่สมโครงการโดยไม่ลังเล ซึ่งทั้งคู่ก็ถือว่าอายุยังน้อยในกลุ่มของสล่าสีน้ำ
นาย รังสรรค์ วังสาร นายปรัชญา มอญไข่
ยังมีศิลปินท่านอื่น ๆ อีกมากมายที่มาร่วมวาดภาพและจัดแสดงผลงานในครั้งนี้ที่ไม่ได้กล่าวถึง แต่ละท่านก็มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป และก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากิจกรรมในครั้งนี้จะได้ประโยชน์แก่ทุกส่วนที่ให้การสนับสนุน