อาจารย์แววดาว ศิริสุข นักออกแบบการแสดงและช่างฟ้อนล้านนาร่วมสมัย เป็นหนึ่งในอาจารย์ประจำที่คณะวิจิตรศิลป์ ภาควิชาศิลปะไทย สาขาศิลปะและการดนตรีการแสดง นอกจากนั้นยังเป็นผู้จัดกิจกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ โดยอาจารย์แววดาวได้มีส่วนที่เกี่ยวข้องในโฮงเฮียนภูมิปัญญาล้านนาต่างๆมากมาย ทั้งทางด้านการเรียนการสอน มีการจัดคอร์สสั้นๆเกี่ยวกับการฟ้อนรำ รวมทั้งส่วนที่จะเป็นในของตัวงานสัมมนา และตัวงานแสดง
ก่อนที่จะเป็นอาจารย์สอนภาควิชาศิลปะไทย อาจารย์แววดาวได้เข้าศึกษาที่คณะวิจิตรศิลป์ ตอนศึกษาอยู่นั้นก็ได้รับโอกาสจากคณาจารย์หลายท่านมอบหมายในการทำกิจกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม โดยเฉพาะการฟ้อนรำ
โดยหลักสูตรที่ตัวอาจารย์แววดาวได้ศึกษานั้นคือภาควิชาศิลปะไทย ซึ่งได้สอนถึงขั้นตอนและมิติที่หลากหลายในตัวของทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมล้านนาด้วย ทำให้เกิดมีความรู้ความเข้าใจ ซึ่งนั่นทำให้ตัวอาจารย์แววดาวเกิดความคิดริเริ่มและได้รับแรงบันดาลใจที่จะสืบสานภูมิปัญญาล้านนาจากตรงนั้น และตัวของอาจารย์เองหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ศิลปะและวัฒนธรรมล้านนานั้นดำรงอยู่สืบไป ด้วยการที่ว่าจะสืบต่อไปได้อย่างไร ไม่ได้แค่ขึ้นอยู่ที่ว่าอนุรักษ์ไว้เฉยๆ ต้องบวกกับมีการต่อยอดต่อไปด้วย เพื่อที่จะดำรงไปต่อในวันข้างหน้าได้
การสอนฟ้อนรำนั้น แต่ก่อนจะมีเยอะกว่านี้ จะมีช่วงหนึ่งที่การฟ้อนรำถือเป็นเรื่องที่เชย ไม่ทันสมัย รวมทั้งการใส่ซิ่น การแต่งตัวล้านนา
อาจารย์แววดาวจึงจัดการเรียนการสอนในส่วนของวิชานาฏศิลป์ศิลป์ล้านนา Lanna dance and drama ซึ่งจะครอบคลุมทั้งหมด อาจารย์จึงมีการนำฟ้อนนางจวงและฟ้อนดอกเชิงซอมาสอนด้วยเพราะกลัวว่าวันหนึ่งการฟ้อนทั้งสองนี้จะหายไป เร่งเห็นถึงความสำคัญ ซึ่งนี่เป็นการแสดงให้เห็นถึงรากเหง้าแห่งศิลปวัฒนธรรมล้านนา ควบคู่ไปกับการอนุลักษณ์ และพัฒนาศิลปะการแสดงเพื่อนำไปสู่การเผยแพร่ต่อๆไป
ความเป็นล้านนากระจายไปทั่ว แล้วทุกอย่างที่เป็นล้านนายังได้รับความนิยมอยู่เสมอ คนเริ่มใช้ความเป็นล้านนาในทางอื่นๆมากมาย แต่ยังไม่ทราบถึงพื้นฐานความเข้าใจในด้านลึกมาก่อน มาถึงเอาคำว่าล้านนามาใช้เลย
แต่พออาจารย์ได้ยินอย่างนี้เลยได้ทำการศึกษาถึงประวัติศาสตร์รากเง้าของล้านนา จึงทำให้นำมาประยุกต์ใช้โดยนำหลักมีเหตุมีผลเกิดมีความหนักแน่นขึ้น ซึ่งมันดีกว่ามาจากไหนไม่รู้แล้วมายึดคำว่าล้านนามาใช้กับตัวเอง
ความเป็นล้านนาศิลปะวัฒนธรรมมีความลุ้มลึกและความสวยงาม สิ่งที่ผ่านกระบวนการการคิดมาแล้ว อย่างหนึ่งเลยก็คืออยากให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ควรให้ความใส่ใจ เข้าหาคนเฒ่าคนแก่ เพราะท่านมีพูนความรู้ที่อัดแน่น พร้อมให้และสอนเราได้เสมอ ลองไปหาความรู้ตรงนั้นก่อน ขอแค่มันไม่หายไปไม่ได้คาดหวังว่าจะเอาไปเผยแพร่หรือกลายเป็นฟ้อนที่โด่งดังแค่วันนี้เห็นลูกศิษย์ตัวน้อยๆหรือลูกศิษย์มหาลัยฟ้อนได้งามและตั้งใจที่จะรับจากศึกษาตรงนี้ไปก็ดีใจแล้ว พอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้ มันดีกว่าเมื่อ5ปีก่อนเท่าไหร่แล้วดีใจเสมอที่มันได้เกิดความเคลื่อนไหว และหวังว่าขอให้เป็นแบบนี้เรื่อยๆ