อาชีพสามล้อถีบ อยู่คู่กับคนไทยมายาวนานตั้งแต่ในอดีตถือเป็นส่วนสำคัญที่พาสัญจรเดินทางไปตามที่ต่างๆ และกำเนิดในไทยเมื่อปี พ.ศ. 2476 จากนั้นการใช้สามล้อจึงแพร่หลายไปทั่วประเทศ ปัจจุบันเมื่อความเจริญเข้ามารูปแบบของการเดินทางก็เปลี่ยนไป มีการนิยมใช้รถยนต์มากขึ้น ทำให้ความต้องการในการใช้บริการสามล้อถีบนั้นลดลง ปัจจุบันในเชียงใหม่สามล้อเหลืออยู่ไม่ถึง 40 คัน และกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง
ลุงแดง หนึ่งในผู้ประกอบอาชีพสมล้อถีบในเชียงใหม่ ปัจจุบันลุงอายุ 66 ปีแล้ว ตอนนี้เหลือแต่คนแก่ๆรุ่นลุงทั้งนั้นหนุ่มสุดให้นี้ก็ ห้าสิบกว่าปี ลุงเล่าให้ฟังว่าสมัยก่อนนี้ไม่เหมือนกับทุกวันนี้เมื่อก่อนไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็เห็นสามล้อเต็มไปหมด แถมราคาก้ไม่ได้แพงด้วย ลุงแดงบอกว่าเมือก่อนนี้นะ แค่บาทเดียวก้ไปได้ตั้งไกลแล้ว แต่ทุกวันนี้ มันไม่เหมือนเมื่อก่อนแล้ว ลุงบอกว่าสามล้อไม่เคยคิดราคาแพงลุงมักจะคิดตามนำ้หนักของของที่ขน หรือถ้าเป็นคนก้คิดไปตามระยะทาง
ทุกวันนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยดี บางวันไม่มีคนจ้างเลยก้มี แต่บางครั้งก็ดีถ้ามีทัวร์ของนักท่องเที่ยวมาลง ก็จะได้ในราคานักท่องเที่ยวเพราะเขาชอบให้พาไปตามวัดหรือตามที่ต่างๆทำให้ได้เงินเยอะกว่านั่งรอแม่ค้าที่ตลาดหน่อย
ลุงเริ่มทำงานตั้งแต่เช้าตรู่ เพราะบางวันก็จะมีแม่ค้ามาจ้างให้ขนผักบ้างเลยต้องตื่นเช้าหน่อย ลุงบอกว่าลุงทำงานทั้งวันทำจนถึง 5 โมงเย็นทุกๆวัน ทุกวันนี้มันเหนื่อยเพราะมีทั้งรถยนต์ ทั้งสามล้อเข้ามาคนเรียกสามล้อก็น้อยลง
ถ้าถามว่าลุงเหนื่อยมั้ยที่ต้องมาถีบสามล้อทุกๆวัน ลุงบอกว่าเหนื่อยนะแต่ลุงก็มีความสุขเพราะลุงรักสามล้อถีบ ลุงบอกว่าอายุเท่านี้นี่งานก้หายาก แต่ก็ไม่อยากจะเป็นภาระของลูก แถมยังได้ออกกำลังกายด้วย เพราะมันคือความผูกพัน ลุงไม่คิดจะเลิกในอาชีพนี้ลุงบอกว่าถ้าจะเลิกก็ต่อเมื่อจะไม่มีแรงที่จะปั่น “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน”
ลุงแดงบอกว่าถ้าเชียงใหม่ไม่มีสามล้อก้เหมือนไม่ใช่เชียงใหม่รถสามล้อถือเป็นเอกลักษณ์ของเชียงใหม่
และรถแต่ละคันก็ไม่ได้มีขายแล้วเพราะสามล้อถีบคือ วัตถุโบราณเคลื่อนที่ ทั้งคนปั่นทั้งรถรวมกันก็ร้อยกว่าปีแล้วราคาของงรถคันหนึ่งไม่สามารถตีราคาได้ ลุงเปรียบ
รถมันก็เหมือนกับพระเครื่องที่ยิ่งเก่าราคาก็ยิ่งแพง
Gallery