เชียงใหม่ เมืองมรดกรก
ChiangMai cluttered heritage
"ส่วนหนึ่งที่แก้ไข กับอีกค่อนเมืองที่เป็นปัญหา"
พบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ หรือจังหวัดเชียงใหม่ เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่อันดับที่2ของประเทศไทย ได้มีการสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 1839 โดยพญามังราย ซึ่งเป็นเวลานานถึง720กว่าปี ที่เชียงใหม่เป็นแหล่งวัฒนธรรมและอารยธรรมที่ชัดเจน ที่มีเอกลักษณะเฉพาะตัว เป็นเมืองที่มีความน่าอยู่สวยงาม มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ สถาปัตยกรรม งานศิลปกรรมที่ทรงคุณค่า มีอัตลักษณ์ของท้องถิ่นล้านนา ดังนั้นองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงเกิดโครงการขับเคลื่อน เมืองเชียงใหม่สู่มรดกโลก คาดว่าจะยื่นเอกสารฉบับภาษาอังกฤษสมบูรณ์แบบให้คณะกรรมการยูเนสโกพิจารณาได้ในปี 2561 เพื่อให้เมืองเชียงใหม่กลายเป็น“เมืองมรดกโลกที่มีชีวิต” ดังเช่นเมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
แต่อย่างไรก็ตามการที่จะเป็นเมืองมรดกโลกได้นั้นจะต้องมีปัจจัยหลายๆอย่างร่วมประกอบการพิจารณาดังนี้
เกณฑ์ที่1: เป็นตัวแทนของผลงานชิ้นเอกของอัจฉริยภาพการสร้างสรรค์ ของมนุษย์ เกณฑ์ที่2 : แสดงออกถึงการแลกเปลี่ยนคุณค่าต่างๆ ของมนุษย์ ในช่วง ระยะเวลาหนึ่ง หรือภายในพื้นที่วัฒนธรรมหนึ่งของโลก ในแง่พัฒนาการ ทางสถาปัตยกรรมหรือเทคโนโลยี ศิลปะที่ยิ่งใหญ่ ผังเมือง หรือการ ออกแบบภูมิทัศน์ เกณฑ์ที่3 : เป็นประจักษ์พยานเพียงหนึ่งเดียว หรืออย่างน้อยมีลักษณะ พิเศษของการสืบทอดทางวัฒนธรรม หรือของอารยธรรมที่ยังดํารงอยู่ หรือสูญไปแล้ว เกณฑ์ที่4 : เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของประเภทอาคาร กลุ่มสถาปัตยกรรม หรือเทคโนโลยี ซึ่งแสดงถึงช่วงเวลาที่สําคัญช่วงหนึ่ง หรือหลายช่วงใน ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เกณฑ์ที่5 : เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่สืบทอด กันมา การใช้ที่ดิน หรือการใช้สอยพื้นที่ในทะเล ซึ่งเป็นตัวแทนของ วัฒนธรรม หรือหลายวัฒนธรรมหรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเมื่อสิ่งแวดล้อมมีความอ่อนไหวเนื่องจาก ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจย้อนคืน เกณฑ์ที่6 : มีความสัมพันธ์โดยตรง หรือความสัมพันธ์เชิงรูปธรรมกับ เหตุการณ์หรือประเพณีที่ดํารงอยู่ กับความคิด หรือกับความเชื่อ กับงาน ศิลปะและวรรณกรรมที่มีความสําคัญโดดเด่นเป็นสากล (โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการด้าานการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ตามแนวทางมรดกโลก(ระยะที่1),มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
(รูปที่2-3 ช่างสายเคเบิลโทรคมนาคม กำลังติดตั้งสายเคเบิล)
แต่กระนั้นเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองที่มีประชากรอันดับต้นๆของประเทศทำให้เกิดการปรับตัวที่เพิ่มมากขึ้นทั้งเทคโนโลยี การคมนาคม หรือไม่เว้นแต่การสื่อสารคมนาคมที่ต้องการสายเคเบิลเป็นสื่อกลาง แต่ด้วยการเพิ่มขึ้นของสายเคเบิลตามความต้องการของประชาชนในสมัยนี้ ทำให้สายเคเบิลมีการติดตั้งและสะสมบนเสาไฟฟ้ามากขึ้นทำให้เกิดปัญหาสะสมต่างๆมากมาย อาธิเช่น การล้มเอียงของเสาไฟฟ้า เนื่องจากการสะสมสายเคเบิลมากเกินไป การหลุดขาดของสายเคเบิลหรือแม้กระทั่งการบดบังทัศนวิสัยที่งดงามของเมืองเชียงใหม่โดยเฉพาะโบราณสถานต่างๆ และเกิดทัศนอุจาดขึ้นซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดแย้งต่อข้อเงื่อนไขการเป็นมรดกโลกของจังหวัดเชียงใหม่ในแง่ผังเมืองและออกแบบภูมิทัศน์อย่างชัดเจน