ท้องฟ้าในยามค่ำคืนที่เต็มด้วยไปแสงแห่งดวงดาว ในอดีตคนโบราณได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้และตกทอดมาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น ตั้งแต่เรื่องทั่วไป เช่น ใช้ในการนำทางไปจนถึงเรื่องที่เหนือจินตนาการอย่างโหราศาสตร์ มนุษย์มีการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าที่มากขึ้น เทคโนโลยีต่างๆพัฒนาไปอย่างก้าวไกล แสงไฟ หรือ ไฟฟ้า ที่เป็นเครื่องหมายของความเจริญที่เข้าถึงผู้คนถึงแม้มันจะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็เป็นสิ่งรบกวนการพักผ่อนของคนและสัตว์เช่นกัน
หลายพื้นที่บนดอยอินทนนท์กำลังประสบปัญหาเรื่องความสว่างที่มีมากและยาวนานเกินไป
เพราะชาวบ้านที่ปลูกดอกเบญจมาศ ต้องใช้แสงสาดเข้าไปในตัวต้นเบญจมาศ
เพราะแสงสว่างมีผลต่อความสมบูรณ์ของดอกเบญจมาศ โดยใช้หลอดไฟส่องสว่างให้กับดอกไม้
การกระทำดังกล่าวจะทำให้การดำรงชีวิตของทั้งคน และสัตว์บางชนิดเปลี่ยนไป
แสงสว่างบนดอยเพียงจุดเดียวไม่เกินพื้นที่ 100 ไร่ มีมากเท่ากับความสว่างของของไฟในตัวอำเภอๆหนึ่งได้เลย โดยแสงส่วนใหญ่ กระเจิงขึ้นบนฟ้า ซึ่งเป็นความสูญเสียทางพลังงานโดยใช่เหตุ เพราะความสว่างที่เป็นอยู่นั้น กว่าครึ่งหนึ่งเป็นแสงฟุ้งไปบนฟ้า ซึ่งถือเป็นพลังงานที่สูญเปล่า รวมไปถึงทำให้สัตว์หลายชนิดที่ออกหากินตอนกลางคืน มีความสับสนกับชีวิต
จากการลงพื้นที่ของตัวผมตลอด 1-2 เดือนที่ผ่านมา ครั้งแรกที่ไปเห็นผมก็รู้สึกว่ามันสว่างกว่าแต่ก่อนมาก แต่ยังคิดว่าพอรับได้ แต่ความคิดผมเริ่มเปลี่ยนไปเมื่อการลงพื้นที่ครั้งที่สามหรือสี่ ผมได้พบกับความสว่างที่มากขึ้นมากๆ ในจุดเดียวกันกับตอนแรก ตอนนั้นเองมีคำพูดนึงดังขึ้นมาจากในหัวของผม " นี่มันในเมืองชัดๆ " ยังไม่ทันได้คิดอะไรต่อ ก็มีเสียงดังแทรกขึ้นมาว่า " คอนโดดอยอินท์ " เป็นเสียงของพี่คนนึงที่ไปด้วยกันกับผม
ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกกำลังรณรงค์เรื่องเขตอนุรักษ์ความมืดสากล ด้วยเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงระบบนิวศน์ การประหยัดพลังงาน และว่าด้วยเรื่องสุขภาพทั้งมนุษย์ และสัตว์ หลายประเทศได้มีการตั้งเขตอนุรักษ์ฟ้ามืดสากล (International Dark Sky) ซึ่งเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ห่างไกลจากมลภาวะทางแสง และยังเป็นสถานที่ดึงดูดนักดูดาวให้เข้ามาเฝ้ามองดาวที่ดารดาษทั่วท้องฟ้า
นี่เป็นเหตุผลหลักๆที่ทำให้แสงสว่างที่ดอยเป็นที่สนใจขึ้นมาในตอนนี้ จากที่ผมได้ลงพื้นที่พูดคุยกับสวนที่ปลูกดอกเบญจมาศ ทำให้รู้ว่าเจ้าของสวนส่วนใหญ่เป็นนายทุน ซื้อที่ดินไว้แล้วก็จ้างชาวบ้านแถวนั้นมาทำงานและดูแล สิ่งที่เป็นตัวการให้เกิดแสงสว่างในครั้งนี้ก็คือดอกเบญจมาศ ดอกเบญจมาศส่วนใหญ่แล้วเป็นดอกไม้ที่ใช้เพื่อนำไปประดับ ตกแต่ง เพื่อความสวยงาม การที่ต้องเปิดไฟนั้น เพื่อเป็นการทำให้ก้านของดอกเบญจมาศยาวได้ไวขึ้น หรือทำให้มันโตไว้ขึ้นนั่นเอง ปัจจุบันดอกเบญจมาศมีความต้องการในตลาดที่มากขึ้น ทำให้ต้องมีวิธีที่ได้ผลผลิตได้ไวและมากขึ้น
" รูปเปรียบเทียบระหว่างแปลงของต้นเบญจมาศที่ยังไม่โตและยังต้องใช้ไฟในการเร่งก้าน
กับแปลงต้นเบญมาศที่โตพอแล้วและไม่ต้องใช้ไฟแล้ว "
เมื่อต้นมันยังเล็กๆหรือต้นที่พึ่งปลูกใหม่ จะเปิดไฟไว้เพื่อให้มันมีก้านที่ยาวเร็วขึ้น และเมื่อมันโตได้ประมาณนึงแล้วก็จะถอดหลอดไฟออก จากการสอบถามชาวบ้านที่ดูแล ช่วงเวลาดังกล่าวใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน นั่นคงเป็นอีกเหตุผลที่ทำไมบางอาทิตย์มันดูสว่างและบางทีมันไม่สว่างเท่าไหร่ จากตรงนี้แล้วหากมีการจัดสรรที่ดีควบคู่กับการให้ความรู้ชาวบ้านในเรื่องการดูแลและใช้ไฟให้เหมาะสมก็คงไม่ยากที่จะรณรงค์หรือทำให้ดอยอินทนท์เป็นเขตอนุรักษ์ความมืดสากลในเร็ววัน
สำหรับพื้นที่ดอยอินทนนท์ ที่มีปัญหาเรื่องมลภาวะทางแสงอยู่ในขณะนี้จะเป็นพื้นที่แรก
ของประเทศไทย ที่จะให้ความสำคัญเรื่องการจัดการมลภาวะทางแสงและจะขยายผลไปสู่
ความเป็นเขตอนุรักษ์ฟ้ามืดสากล เพื่อประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์และพลังงาน
รวมไปถึงประโยชน์ต่อการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและจัดการกับแสงพวกนี้ตามลำดับ ครั้งหลังๆที่ผมลงพื้นที่ได้สังเกตุว่าหลอดไฟมีรูปร่างหน้าตาที่เปลี่ยนไป ถามแล้วก็ได้ความมาว่ามันประหยัดไฟมากขึ้นและไม่ทำให้แสงฟุ้งเกินไป สิ่งเหล่านี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับเรื่องนี้ นอกจากการแก้ไขปรับปรุงแล้วการเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันให้ถือเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องนึง เพราะการแก้ไขคงไม่ได้เกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว ส่วนตัวผมเองในการลงพื้นที่หลายๆครั้ง ทำให้ได้เห็นในมุมองที่แตกต่างกันออกไปทั้งในเรื่องที่ร้ายและดี
" เรื่องแบบนี้มันสิ่งไม่มีใครต้องการให้เกิดทุกอย่างก็เป็นไปตามกลไกและความเจริญก้าวหน้าของโลก แต่ในเมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้วการช่วยกันแก้ปัญหาเป็นสิ่งที่ควรทำ ในทางตรงคนส่วนใหญ่อาจจะไม่ได้รับผลกระทบ แต่ในทางอ้อมแล้ว คุณทุกคนกำลังมีส่วนช่วยในการทำลายป่า
หรือธรรมชาติที่ดีที่สุดของเมืองไทยไปอีกแห่งหนึ่ง "