top of page
รูปภาพนักเขียน.doc team

2540.



2540

" ในปีพุทศักราช 2540 ได้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่น่าเหลือเชื่อทำให้หลายๆพื้นที่ที่มีการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ในคราวนั้นส่งผลทำให้หลายๆพื้นที่ไม่ได้ไปต่อและลงเหลือเพียงพื้นที่ที่ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน โดยในตัวเมืองเชียงใหม่ก็ได้มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเฉกเช่นเดียวกันส่งผลทำให้บางพื้นที่กลายเป็นพื้นที่รกร้าง บางพื้นที่ถูกแบ่งขาย และบางพื้นที่ได้กลายเป็นไร่สวนสำหรับเกษตรกร ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่ก่อนปี พ.ศ.2540 ได้ถูกสร้างขึ้นเพืีอที่จะทำโครงการบ้านจัดสรรสำหรับชาวเชียงใหม่แต่เนื่องด้วยตัวพื้นที่นั้นอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่และเกิดวิฤตการณ์ในคราวนั้นส่งผลให้หลายๆพื้นที่ที่มีการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต้องปิดตัวลง ซึ่งวิกฤตการณ์ในคราวนั้นมีชื่อว่า ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตก "

 

นภาธานี


นภาธานี

ถนนเส้นเชียงใหม่-หางดง พื้นที่ที่ห่างไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่ผู้คนส่วนใหญ่มองว่าเส้นทางนี้ผู้คนอาศัยอยู่บ้านจัดสรรเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากสองข้างทางของถนนบริเวณนั้นมีหมู่บ้านจัดสรรอยู่เป็นจำนวณมากตลอดระยะทางเฉกเช่นเดียวกับหมู่บ้านนภาธานีซึ่งภายนอกจะดูลักษณะเหมือนหมู่บ้านจัดสรรทั่วไปแต่ในปัจจุบันเมื่อเข้าไปภายในหมู่บ้านแล้วจะมีผู้คนอาศัยอยู่เพียงเล็กน้อย พื้นที่บางส่วนกลายเป็่นพื้นที่ว่างและปล่อยให้รกร้าง พื้นที่บางส่วนได้มีการทำสวนทำไร่ และ บางส่วนมีกระท่อมเล็กๆอยู่ตามชายนาเป็นกระท่อมของผู้ที่คอยดูแลพื้นที่เหล่านั้นไม่ให้รกร้าง จุดเริ่มต้นของหมู่บ้านนภาธานีเกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2537-2539 ก่อนเข้าสู่ช่วงภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตกเพียง 1-2ปี โดยผู้ก่อตั้งขึ้นมาคือ

คุณ วรศักดิ์ นิมานันท์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 3 สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในยุคปี พ.ศ.2500 เขาเป็นเจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์พื้นที่แห่งนี้ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงเหตุการณ์ฟองสบู่แตกและหลังจากนั้นได้ทำการตัดแบ่งที่ดินขายซึ่ง นภาธานี ในปัจจุบัน พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ของทหารอากาศและในบางส่วนจะเป็นพื้นที่ของคณาจารย์ ในบางพื้นที่ได้มีการปล่อยให้เช่าทำไร่สวนในราคาถูกสำหรับเกษตร บางพื้นที่ได้มีการตกลงระหว่างเจ้าของพื้นที่และเกษตรกรให้สามารถทำไร่สวนฟรีแต่ต้องแลกกับการช่วยดูแลพื้นดินของเขา และบางพื้นที่ได้ถูกทิ้งให้กลายเป็นพื้นที่รกร้าง.


ลึง

ลุงเลิศผู้ดูแลพื้นบางส่วนภายในนภาธานี

 

พรพรหมพาราไดซ์


สวนน้ำ พรพหมพาราไดซ์

สวนสยามเชียงใหม่ที่หลงเหลือเพียงตำนาน หมู่บ้านพรพรหมพาราไดซ์ เมื่อนึกถึงพรพรหมพาราไดซ์เชื่อว่าทุกคนมักจะนึกถึงสวนน้ำแต่ความจริงจุดเริ่มต้นของที่นี้ก็คือธุรกิจอสังหาริมทัพย์เฉกเช่นเดียวกับนภาธานี โครงการพรพรหมพาราไดซ์อยู่บนถนนเชียงใหม่-หางดง ( ฝั่งตรงข้ามหมู่บ้านนภาธานี ) เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2534 บนถนนเชียงใหม่-หางดง กิโลเมตรที่ 18 มีเนื้อที่โดยรวมจำนวนกว่า300ไร่ เป็นโครงการที่มีชื่อเสียงมากในยุคนั้น โดยทางโครงการได้ทำการเปิดตัวสวนน้ำในปี พ.ศ.2535 และได้ทำการสร้างสปอร์ตคลับ และ สนามกอล์ฟ ตามขึ้นมา โครงการแห่งนี้เป็นของ คุณวิโรจน์ และ คุณเอื้ออัมพร เตชะชัยพรพจน์ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่เชียงใหม่-ลำพูน โครงการพรพรหมพาราไดซ์นั้นไม่มีเพียงสวนน้ำแต่โครงการแห่งนี้ถูกวางแปลนไว้เป็นหมู่บ้านจัดสรรที่มีสวนน้ำ สปอร์ตคลับ และ สนามกอล์ฟไว้เป็นที่พักผิงและสถานที่ท่องเที่ยวในยุคนั้น โดยบางพื้นที่ภายในโครงการยังมีบ้านจัดสรรบางส่วนที่โดนทิ้งร้าง และ ยังสร้างไม่เสร็จ และภายในโครงการบางส่วนได้แบ่งให้เกษตรกรได้เช่าทำนาข้าว ส่วนตัวสวนน้ำในปัจจุบันนั้นได้มีการแขวนป้ายพื้นที่ส่วนบุคคลห้ามเข้าไปภายในพื้นที่ และ ได้ให้เอกชนเช่าพื้นที่บริเวณภายในนั้น

 

บ้านฟ้าเปียงดิน


ฟ้าเปียงดิน

เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตกเฉกเช่นเดียวกับ นภาธานี และ พรพรหมพาราไดซ์ มีพื้นที่โดยประมาณ 700-1,000 ไร่ เป็นอีกหนึ่งโครงการที่มีชื่อเสียงโด่งดังในช่วงยุคปี พ.ศ.2538 - 2539 ตั้งอยู่เส้น อบจ.เชียงใหม่ ชม.303 อำเภอสันกำแพง เป็นอีกหนึ่งโครงการที่เป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากพบกระทบของเศรษฐกิจแต่ในปัจจุบันโครงการแห่งนี้ก็ยังคงสภาพพื้นที่ในรูปแบบเดิมเอาไว้อยู่ ภายในพื้นที่เป็นถนนเรียบและโล่งมาก ภายในตัวโครงการได้มีการสร้างสปอร์ตคลับขึ้นมาเพื่อรองรับเป็นที่พักพิงให้แกผู้ที่จะเข้ามาอยู่อาศัยในยุคนั้น โครงการแห่งนี้ได้แบ่งขายพื้นที่บางส่วนให้แก่ผู้ที่สนใจ แต่บางส่วนนั้นเจ้าของโครงการยังเป็นคนดูแลอยู่ หลังจากเหตุการณ์เศรษฐกิจคราวนั้นก็ทำให้ฟ้าเปียงดินกลายเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ไปต่อ แต่ในปี พ.ศ.2552 ได้เป็นพื้นที่ให้ชาวบ้านทำปศุสัตว์ภายในโครงการ หลังจากนั้นได้ไม่นานได้มีการเข้าบ้านของวัยรุ่นที่ใช้ถนนภายในหมู่บ้านในการแข่งขันรถมอเตอร์ไซค์สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านระแวกนั้นเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ในปัจจุบันฟ้าเปียงดินได้ถูกเช่าพื้นที่บางส่วนและมีการใช้พื้นที่ใช้สอยแตกต่างกันไป บางส่วนกลายเป็นโรงเผาถ่าน บางส่วนมีการใช้พื้นที่สำหรับกลุ่มของผู้เล่นเครื่องบินบังคับ และ พื้นที่หลักของโครงการส่วนของสปอร์ตคลับนั้นได้ให้ Chiang Mai City Academy เช่าทำสนามฟุตบอลสำหรับฝึกสอนผู้ที่สนใจและในปัจจุบันเจ้าของโครงการยังเชื่อว่าโครงการนี้สามารถไปต่อได้เพียงต้องใช้เวลาในการพัฒนาให้โครงการขึ้นมามีชื่อเสียงอีกครั้ง

 

สถานที่ดังกล่าวทั้งสามที่กล่าวถึงเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบมาจากภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในปี พ.ศ.2540 ซึ่งทำให้สถานที่ดังกล่าวไม่ได้รับการพัฒนาต่อกลายเป็นเพียงพื้นที่ที่ยังคงอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ที่รอการพัฒนาต่อไปในอนาคต

ดู 885 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
bottom of page