top of page
  • รูปภาพนักเขียน.doc team

KAD THEATRE



โรงละครกาดเธียเตอร์

ตั้งอยู่บนชั้น 5 อุทยานการค้ากาดสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการนำเสนอศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีการออกแบบและใช้ระบบอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน สามารถรองรับงานละครเวที คอนเสิร์ต การแสดง การประชุม และกิจกรรมทุกรูปแบบ มีขนาดพื้นที่ 1,889 ตารางเมตร และมีจำนวนทั้งหมด 1,480 ที่นั่ง

ทำไมต้องเป็นเชียงใหม่ ?

คุณสุชัย เก่งการค้า ผู้ก่อตั้งโรงละครกาดเธียเตอร์ มองว่า เชียงใหม่เป็นเมืองแห่งศิลปวัฒนธรรม มีพัฒนาการทางศิลปะที่ต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว ดังนั้นเชียงใหม่จึงเป็นจังหวัดที่เหมาะสมในการก่อตั้งโรงละคร


ทำไปทำไม ?

ด้วยใจที่รักในงานศิลปะ ผสมผสานกับความเชื่อที่ว่าโรงละครแห่งนี้ จะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับสังคม เพื่อให้คนไทยและคนเชียงใหม่ มีโอกาสได้เรียนรู้ ได้เห็น และได้ชมการแสดงระดับโลก โดยที่ไม่ต้องซื้อตั๋วไปชมการแสดงถึงเมืองนอก ทำให้โรงละครแห่งนี้ถูกออกแบบอย่างยิ่งใหญ่ และทันสมัยด้วยเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐานที่สุดในเอเชียอาคเนย์ ในยุคนั้น (20ปีที่แล้ว) ด้วยงบกว่าร้อยล้านบาท


ทำแล้วก็ต้องให้เป็นระดับมาตรฐานสากล ?

เพราะคำว่ามาตรฐานระดับสากลทำให้การออกแบบพื้นที่ภายในโรงละครสำคัญมาก เพื่อให้สามารถรองรับการแสดงจากทั่วโลกได้ โดยในส่วนพื้นที่ของโรงละครทั้งหมดนั้น ถูกแบ่งออกเป็น

ชั้น 4 พื้นที่ส่วนทางเข้า - ออกใต้เวที สำหรับทีมงาน และนักแสดง

ชั้น 5 พื้นที่บริเวณหน้าโรงละคร พื้นที่ส่วนผู้ชม ชั้นล่าง และพื้นที่ส่วนเวทีการแสดง

ชั้น 6 พื้นที่ห้องแต่งตัวนักแสดง และพื้นที่ส่วนผู้ชม ชั้นสอง

ชั้น 7 พื้นที่ห้องแต่งตัวนักแสดง

ชั้น 8 พื้นที่ส่วนผู้ชม ชั้นสาม

แล้วอะไรคือปัญหาที่เกิดขึ้น ?

เมื่อความตั้งใจสวนทางกับภาวะการเงิน น้อยคนนักที่จะรู้ว่า ตลอดระยะ 20 ปีที่โรงละครดำเนินงานมานั้น ต้องเจอกับภาวะการขาดทุนอย่างหนักเรื่อยมา เนื่องจากช่วงแรกที่ลงทุนนั้น ทางผู้บริหารไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยงในการลงทุนมากนัก อีกทั้งยังพบเจอปัญหาอีกมากมาย เช่น ทัศนคติของคนเชียงใหม่เอง ที่ขาดความเข้าใจใน คำว่า การแสดง หรือ ละครเวที เพราะในสมัยนั้นการแสดงละครเวที ยังเป็นเพียงอาชีพที่คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า เป็นอาชีพเต้นกินรำกิน นอกจากนั้นยังเป็นเรื่องการออกแบบภายในโรงละคร โดยเฉพาะที่นั่งส่วนผู้ชม เนื่องจากการแสดงระดับโลก ผู้เข้าชมต้องนั่งดูจนกว่าการแสดงจะเสร็จสิ้น ห้ามลุกออกจากที่นั่งก่อน เพราะเป็นการเสียมารยาท แต่สำหรับไทยนั้นไม่ใช่ ทำให้คนที่เข้ามาชมการแสดงในโรงละครแห่งนี้ มองว่า ที่นั่งภายในโรงละครไม่สะดวกสบาย และไม่เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ชม และอีกเหตุผลนึงที่สำคัญก็คือ ขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญในด้านการจัดการแสดงละครเวที ทำให้โรงละครขาดทุนอย่างหนัก นำมาซึ่งปัญหากับสปอนเซอร์ สุดท้ายแล้วก็คือทำให้ขาดกำลังทรัพย์ในการจัดแสดงละคร และการปรับปรุงซ่อมแซมอาคาร ทุกวันนี้โรงละครใช้วิธีในการให้เช่าพื้นที่จัดแสดง ทั้งจากภาครัฐและเอกชน แต่ด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ได้ทันสมัยแล้ว ทำให้ไม่สามารถขึ้นค่าเช่าพื้นที่ได้มากนัก ทำให้ทางโรงละครยังคงใช้ราคาเดิมกับเมื่อ 20 ปีก่อน คือ แสนกว่าบาท















ความจริงที่กำลังเผชิญ ?

ภาวะขาดทุนอย่างหนัก ทำให้โรงละครต้องแบกภาระเรื่องค่าใช้จ่าย ทั้งค่าน้ำ และค่าไฟ เมื่อโรงละครไร้การแสดง ไร้เสียงของนักแสดง และผู้ชม โรงละครตอนนี้ก็เหมือนไร้ชีวิต และด้วยสภาพที่ค่อยๆทรุดโทรม เทคโนโลยีต่างๆไม่ทันสมัยเหมือนเดิม ทำให้โรงละครแห่งนี้ถูกลดความสำคัญลงไป เหลือไว้เพียงคุณค่าของมัน กับคำว่า โรงละครแห่งแรกในเชียงใหม่



ถึงแม้ตอนนี้จะมีการแสดงภายในโรงละครบ้าง แต่ก็นับว่าน้อยลงไปทุกที ทำยังไงที่จะให้โรงละครมีชีวิตอีกครั้ง คงต้องเริ่มจากการเปลี่ยนทัศนคติของผู้ชมและคนทั่วไปต่อโรงละครแห่งนี้ เห็นใจเขาใจเรา และช่วยเหลือพึ่งพากัน

กิจกรรมการแสดงที่ผ่านมา

การแสดงชุด " ธ สถิตในดวงใจนิจนิรันดร์ กับ เทพนิยาย เจ้าหญิงนิทรา และ อะลาดิน " เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2560

ดู 575 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

KAREN

bottom of page