เมื่อสินค้ามีมากกว่า 2
สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งทั่วโลกมักจะมีสินค้าที่หน้าตาคล้ายกันถูกวาง ขายในแผงที่ติด ๆ กัน จะต่างกันก็ที่ราคาสูงต่ำปะปนกันไป เช่นเดียวกันกับแผงลอยและร้านค้าบริเวณหน้าบันไดทางขึ้นดอยสุเทพ ซึ่งละลานตาไปด้วย ของกิน ของฝาก และเครื่องเงินต่าง ๆ จากการสำรวจพบว่าร้านขายเครื่องเงินนั้น
มีมากถึง 80 % ของร้านค้าทั้งหมดในพื้นที่ นอกจากนี้จะเป็นร้านเสื้อผ้าและร้านอาหารตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือไม่มีใครตั้งคำถามหรือออกมาเรียกร้องถึงเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนแบบนี้ว่าแท้จริงแล้วสินค้าที่ถูกวางขายในลักษณะเดียวกันนี้สามารถขายได้จริงหรือไม่ หรือสินค้าจำพวกนี้มีเป้าหมาย เพื่อตอบสนองความต้องการของใคร
" ไม่ค่อยมีใครสนใจหรอกว่าจะขายของซ้ำกันไหม มีแต่สนใจว่าจะขายได้ หรือเปล่า "
คุณป้าท่านหนึ่งเล่าให้เราฟัง
คุณป้ายังบอกอีกว่าสินค้าส่วนมาก เป็นของที่รับมาโรงงานก็มีหลายคนที่ผลิตขายเองแต่ได้ไม่คุ้มเสียถ้าขายไม่ดีขึ้นมาก็ขาดทุนหนักไม่ค่อยมีใครเสี่ยงลงทุนมากขนาดนั้น
เมื่อปีพ.ศ. 2556 ได้มีการจัดระเบียบแผงลอยบริเวณหน้าบันไดนาคทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพโดยมีการจัดพื้นที่ให้พ่อค้าแม่ค้าทั้งหลายได้เปิด ร้านกันอย่างเป็นระเบียบ จากเหตุการณ์นี้ยิ่งทำให้เห็นความชัดเจนของ ประเด็นสินค้า Copy cats มากขึ้น
นักท่องเที่ยวคงหนีไม่พ้นการเป็นเป้าหมายของเหล่าพ่อค้าแม่ค้าบริเวณนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า พระธาตุดอยสุเทพเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของเชียงใหม่ นั่นหมายความว่าจะมีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศแวะเวียนเปลี่ยนหน้ากันมาเป็นลูกค้าอยู่เสมอ
" ส่วนใหญ่ก็คนจีน คนฝรั่งนี่แหละ คนไทยไม่ค่อยมีหรอก มาเที่ยวแล้วก็จบแต่ต่างชาติเขานิยมของฝากกัน "
Copy cats product ไม่ได้เป็นตัวแปรในการสร้างความบาดหมางกันระหว่างกลุ่มผู้ค้า เห็นได้ชัดจากความสนิทสนมและ Community area ที่เกิดขึ้น เหล่าพ่อค้าแม่ค้ามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และพร้อมช่วยเหลือกันเสมอ
" เราเป็นมิตรไม่ใช่คู่แข่ง ทุกเช้าที่ตื่นมาปฏิเสธไม่ได้เลยนะว่าเรามีความสุขที่เจอกัน "
การปรับเปลี่ยนผังการขายสินค้านั้นอาจเป็นการจัดระเบียบเพื่อความเรียบร้อยและคืนพื้นที่สาธารณะ ให้กับทุกคนก็จริงแต่ก็น่าเสียดายที่อีกไม่กี่ปีข้างหน้าเราอาจไม่ได้ความสัมพันธ์ที่สวยงามของ คนกลุ่มเล็ก ๆ นี้แล้วก็เป็นได้เพราะในความจริงแล้วเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าร้านค้าเหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของเสน่ห์ดอยสุเทพเช่นกัน
590310201 นภัส นกน่วม
Comments