เมืองเชียงใหม่ ในช่วงเวลาเย็นหลังจากเลิกงาน ผู้คนจำนวนมากเริ่มทยอยเดินทางกลับบ้าน ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข สนุกรื่นเริงอยู่กับเพื่อนฝูง หรือกลับกินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัว นี่คือวิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ แต่ท่ามกลางวิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ที่กำลังดำเนินไป ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่กำลังดำรงชีวิตกับการดิ้นรนหาของเก่าขาย ทำงานรับจ้าง ขายของเล็กๆน้อยๆเพื่อให้ได้เงินซื้อข้าวในแต่ละมื้อ หลายคนมีชีวิตแบบอดมื้อกินมื้อ อยู่ตัวคนเดียว มีที่พักไม่เป็นหลักเป็นแหล่ง อยู่ใต้สะพานบ้าง ข้างถนนบ้าง ตามสวนสาธารณะ หรือ ป้ายรถประจำทาง
เชียงใหม่เมืองที่มีความเจริญไม่แพ้ที่ไหน แต่ หลังจากที่ได้สำรวจในตัวเมือแล้วก็มีสถานที่ ที่เราอาจพบเจอบุคคลเหล่านี้ได้ง่ายที่สุดก็ คือ ตลาดวโรรส ถ้าเราพูดถึงตลาดวโรรส หรือ ที่เรารู้จักกันในชื่อ กาดหลวง บางคนอาจของมองหากินของฝากที่ใครได้มาเที่ยวในเชียงใหม่แล้วควรจะแวะมาดูมาซื้อของฝาก ผ่านหูกันมามากมายว่าที่ตลาดวโรรสนี้ ของกินอร่อย นักท่องเที่ยวทั้งไทยทั้งต่างชาติก็เข้ามาเที่ยวกัน แต่ในอีกมุมหนึ่ง ของสถานที่แห่งนี้ นอกจากพ่อค้าแม้ค่าที่ค้าที่ใช้สถานที่นี้เพื่อทำการค้าขายแล้ว ก็ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ ใช้สถานที่นี้เพื่อ อยู่อาศัยหรือ พักพิง เราอาจเรียกกลุ่มคนเหล่านี้ได้ว่า กลุ่มคน "ไร้บ้าน" ถ้าพูดถึงคนไร้บ้านหลายคนอาจจะมองคนเหล่านี้เป็นคนที่มีปัญหาครอบครัวแตกแยก ตกงาน เป็นคนยากจน ติดเหล้าติดยา เป็นคนขี้คุก จึงออกมาใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะหรือบนท้องถนนเป็นที่พักอาศัยและโดนตีตราว่าเป็นคนขี้เกียจ ไม่ขยันทำมาหากิน ไม่รู้จักใช้เงิน ไม่อดออมในชีวิต ทำให้ต้องกลายมาเป็นคนไร้บ้านในที่สุด
ไร้บ้าน ไม่ใช่ ไร้ที่ไป : คนไร้บ้านหลายคนรู้ว่ามีศูนย์รองรับให้เข้าพักได้ แต่เลือกอยู่ริมถนนต่อเพราะยังมองว่าเป็นอิสระกว่า อย่างไรก็ตาม การมีที่อยู่ปลอดภัยและเป็นหลักแหล่งคือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้พวกเขามีชีวิตดีขึ้นได้
ไร้บ้าน ไม่ใช่ อยู่ไปวันๆ : คนไร้บ้านหลายคนมีงานทำและต้องการทำงาน ไม่ใช่ทุกคนที่นั่งเฉยๆ รอรับความช่วยเหลือความตระหนักในที่นี้ ยังหมายถึงการเข้าใจสภาพปัญหาและการมองปัญหาคนไร้บ้านว่าเป็นปัญหาร่วมของคนในสังคม ที่บางกลุ่มมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะเปราะบางและภาวะไร้บ้านได้ ปัจจุบันคนไทยยังมีภาพมายาคติผิดๆ เกี่ยวกับคนไร้บ้าน ยังคงนิยมมองว่าเป็นกลุ่มคนที่ไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องเพราะเป็นคนขี้เกียจทำงาน มีปัญหาสุขภาพจิต และอันตราย ซึ่งข้อมูลที่แท้จริงแล้วพบว่า ภาพจำเหล่านี้ต่างเป็นข้อมูลที่ผิดทั้งสิ้น
ให้เงิน’ อาจเท่ากับ ‘ทำร้าย’ : หลายคนอาจอยากช่วยเหลือคนไร้บ้าน แต่การให้เงินโดยตรงอาจทำให้คนไร้บ้านโดนคนอื่นรุมทำร้ายได้ การให้อาหาร น้ำ และยาถือเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า (พี่คนไร้บ้านเล่าไห้ฟังว่า คนไร้บ้านแต่ละคนจะมีวิธีเก็บเงินแบบเฉพาะตัวเพื่อป้องกันการถูกขโมย และหลายคนก็มารวมกลุ่มกัน ผลัดกันเฝ้าของเพื่อความปลอดภัย)
คนไร้บ้าน เท่ากับ คนมีหัวใจ : คนไร้บ้านไม่ได้มีแค่ปัญหาแต่มีความรู้สึก ‘คำถาม’ จึงเป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรใส่ใจให้มากเมื่อเข้าไปเยี่ยมเยียน ‘ทำไมถึงออกจากบ้าน?’ อาจไม่ใช่สิ่งแรกที่ควรถาม และหลายคนอาจไม่ได้พร้อมเปิดใจเล่าปัญหากับคนแปลกหน้า ขอให้ไปอย่างเคารพ เอาใจเขามาใส่ใจเราให้มากๆ วิธีที่แนะนำคือ ให้เริ่มถามจากสารทุกข์สุขดิบและเรื่องเล็กน้อยรอบตัวเขา เช่น กินข้าวหรือยัง วันนี้เก็บของมาขายได้เยอะมั้ย
คนไร้บ้าน เท่ากับ มนุษย์ : คนไร้บ้านทุกคนไม่ใช่คนเลวร้ายน่ากลัว และคนไร้บ้านทั้งหมดก็ไม่ใช่คนดีสมบูรณ์แบบ การไม่มีบ้านไม่ใช่วาระให้เหมารวม แต่สิ่งที่แน่นอนคือ พวกเขากำลังประสบปัญหาที่โหดร้ายและต้องการความช่วยเหลือ
“ถ้าเรามองว่าคนไร้บ้านมีหลายรูปแบบ เราก็มองได้ว่าคนเหล่านี้ก็มีสภาพที่คล้ายคลึงกับเรา เราอาจแค่มีต้นทุนที่ดีกว่า จะช่วยให้สังคมเข้าอกเข้าใจปัญหานี้ได้มากขึ้น และนำไปสู่การสร้างมาตรการ สวัสดิการหรือนโยบายที่จะยกระดับให้ความเหลื่อมล้ำลดลง และป้องกันไม่ให้คนตกลงไปอยู่จุดต่ำสุดในสังคมได้”
โฆษิต วิศว์รุ่งโรจน์
590310072
Comments