top of page
  • รูปภาพนักเขียนวริศรา ผิวอ่อน

Young me ยังมีชีวิต

“Young Me ยังมีชีวิต” คือการถ่ายภาพเชิงสารคดีเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่ยังคงประกอบอาชีพต่างๆแม้อยู่ในวัยเกษียณอายุ คำว่า“young me” ใช้สื่อความหมายถึงการที่แม้ผู้สูงอายุมีอายุมากแล้วแต่ก็ยังคงประกอบอาชีพอยู่เช่นเดียวกันกับคนวัยหนุ่มสาว ราวกับว่าพวกเขานั้นยังอายุไม่มากเกินไปที่จะประกอบอาชีพและยังหาเลี้ยงตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาลูกหลาน และข้อความที่ว่า “ยังมีชีวิต” ส่วนหนึ่งใช้การเล่นคำภาษาไทยที่ออกเสียงคล้องจองกับคำว่า “young” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งความหมายนั้นคือการที่แม้ผู้สูงอายุที่ยังคงประกอบอาชีพจะอายุมากแล้ว แต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็ต้องทำงานหาเลี้ยงชีพหรือแม้แต่หาเงินเพื่อช่วยเหลือครอบครัวต่อไป

เมื่อเราก้าวเท้าออกจากบ้านจะเห็นได้ว่ายังคงมีผู้สูงอายุประกอบอาชีพต่างๆอยู่ในปัจจุบัน แม้บางคนจะอายุมากแล้วก็ยังคงเห็นทำมาค้าขายหรือทำอาชีพบริการการขนส่งสาธารณะอยู่เป็นเนืองๆ ผู้เขียนจึงเกิดความสงสัยว่าเหตุผลส่วนใหญ่ที่ผู้สูงอายุยังคงประกอบอาชีพอยู่เพราะปัจจัยเรื่องเงินเป็นหลักเนื่องจากเงินผู้สูงอายุที่ได้จากรัฐไม่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิตหรือเพราะปัจจัยอื่นๆด้วย เช่น การใช้เวลาว่างทำงานเพื่อคลายเหงาและความเบื่อหน่ายในแต่ละวัน


คนแรกป้าแพน อายุ 69 ปี ขายเป็นรายได้ตัวเอง

คนที่สองป้านงอายุ 66 ปี ทำขนมขายมาแล้ว 15 ปี

คนที่สามลุงจรัญ อายุ 63 ปี ส่วนใหญ่ขับรับ-ส่งนักเรียน


โปรเจคนี้มีขึ้นมาเพื่อสะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว โดยมีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ยังคงประกอบอาชีพอยู่เรื่อยมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาวจนถึงวัยเกษียณอายุ ซึ่งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดการณ์ว่า ปี 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์

เป็นประเทศที่สองของอาเซียนรองจากสิงคโปร์

จากการออกไปเก็บภาพบริเวณตลาดนวรัฐและตลาดวโรรส จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเหตุผลส่วนใหญ่ของผู้สูงอายุที่ยังคงประกอบอาชีพอยู่ คือเพื่อหาเลี้ยงตัวเองเป็นหลักและมีบ้างที่ช่วยหาเลี้ยงครอบครัวและอาชีพที่ทำอยู่ในปัจุบันเป็นอาชีพที่ทำอยู่ตั้งแต่อดีตเมื่อหลายปีก่อนและบางคนยังคงประกอบอาชีพเดิมมาแล้วเป็นเวลากว่าทศวรรษ เมื่อช่วงต้นปี 2563 สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานการคาดประมาณประชากรของประเทศไทยปี 2553 ถึงปี 2583 ต่อทำเนียบรัฐบาลว่าปี 2563 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปกว่า 12 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18 ของประชากรจำนวน 66.5 ล้านคน และประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 20.42 ล้านคน (ร้อยละ 31.28) ในปี 2583 (อ้างอิงข้อมูลจาก สำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/862026)


ป้าเล็ก อายุ 65 ปี ลุงเฉลิม อายุ 65 ปี ป้าวรรณ อายุ 73 ปี

ขายมะม่วงสุกกับเทียน ขับมานานกว่า 34 ปี ปกติเลี้ยงหลาน

ขายเป็นรายได้เสริม


ธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่าเศรษฐกิจไทยปี 2563 ชะลอตัวต่ำกว่าที่คาดและต่ำกว่าศักยภาพเนื่องจากภาวะ “VUCAWorld” กล่าวโดยง่ายคือสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเนื่องด้วยสถานการณ์หรือเหตุปัจจัยบางอย่าง ซึ่งในปี 2563 คือการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศ ทำให้หลายภาคส่วนตั้งแต่ธุรกิจขนาดใหญ่ไปจนถึงผู้คนที่ประกอบอาชีพต่างๆได้รับผลกระทบ

จากการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่ยังคงประกอบอาชีพอยู่พบว่าพวกเขาได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างมากเนื่องจากลูกค้ามีจำนวนลดน้อยลง ทำให้รายได้ในแต่ละวันลดน้อยลงไปด้วย

ซึ่งเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ได้รับเดือนละ 600-700 บาทนั้นไม่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิตรายเดือน


ถั่วต่างๆและผลไม้ดอง ลุงมนสิทธิ์ อายุ 54 ปี ขนมไทยป้านง ชิ้นละ 5 บาท

ของป้าชลูด อายุ 69 ปี ขายมากว่า 20 ปี เดินขายทั่วไป

หน้าตลาดนวรัฐ เชียงใหม่ ส่งลูกชาย 2 คนเรียน


จากการสัมภาษณ์พบว่าผู้สูงอายุในหลากหลายอาชีพในช่วงอายุระหว่าง 60-70 ปียังคงประกอบอาชีพอยู่ซึ่งเป็นอาชีพที่ทำมาเป็นระยะเวลานานแล้วและคาดว่าจะทำต่อเนื่องไปจนกว่าจะไม่สามารถทำได้อีกต่อไป โดยส่วนมากเป็นอาชีพค้าขายและขนส่งสาธารณะเช่น สามล้อ ตุ๊กตุ๊ก และรถแดง(รถสองแถวประจำทาง) ส่วนมากทำเพื่อหาเลี้ยงชีพและเป็นรายได้เสริมให้ตนและครอบครัว จากโปรเจคครั้งนี้จะเห็นได้ว่าประเทศไทยที่เป็นประเทศที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วนั้นมีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ยังคงประกอบอาชีพอยู่ ซึ่งสะท้อนสัจจะธรรมของชีวิตที่ว่า "ถ้ายังคงมีชีวิต ก็ต้องดิ้นรนเพื่อให้อยู่รอด

ต่อไป" แม้ร่างกายจะแก่ชราลงตามสังขารที่เพิ่มขึ้นขณะที่เวลาของชีวิตลดน้อยลงนั้น จิตใจคือสิ่งที่สำคัญกว่า หากเราเชื่อว่าเรายังมีกำลังพอทำไหว ประกอบอาชีพต่อไปได้ และร่างกายยังแข็งแรงดี

พวกเขาเหล่านั้นก็ได้ช่วยสะท้อนความจริงในสังคมของสถานการณ์ผู้สูงอายุที่ดิ้นรนหาเลี้ยงชีพต่อไปว่า “Young me ยังมีชีวิต”


ดู 23 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

A(rt)bandon

bottom of page