‘นักศึกษาต้องตั้งใจทำงานศิลปะให้ดีนะคะ เพราะหลังจากตรวจงานเสร็จมันจะกลายเป็นขยะ’ คำพูดของอาจารย์ในคาบเรียนวิชาองค์ประกอบศิลป์2 (Art Composition ll) ในวันนั้น (เมื่อ2ปีที่แล้ว) ยังตราตรึงใจมาจนถึงทุกวันนี้
เป็นเรื่องที่น่าสนใจวงการศิลปะเห็นคุณค่างานศิลปะแค่กระบวนการทำและผลสัมฤทธิ์ที่ได้มาแต่กลับต้องถูกทิ้งขว้างหลังจากเสร็จสิ้นการถูกใช้งาน
ในมุมมองของนักศึกษาศิลปะด้วยกันหากตัดเรื่องสุนทรียะและคุณค่าทางด้านศิลปะออกไป การสร้างงานศิลปะในรูปแบบต่างๆไม่ว่าจะเป็น จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ฯลฯล้วนมีการลงทุนทางด้านวัสดุอุปกรณ์ เมื่อถูกนำไปสร้างสรรค์เสร็จ หากผลงานไม่ได้ถูกจำหน่ายหรือทำประโยชน์ได้อีกต่อไป ร้อยทั้งร้อยก็ถูกทิ้งระเกะระกะทั่วสตูดิโอ หรือลงถังขยะตามระเบียบ
จะเห็นได้ว่าขณะนี้คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในส่วนภาคสาขาวิชาที่พบขยะจากศิลปะมากที่สุดคือ สาขาประติมากรรมที่มีจำนวนที่มากกว่าทั้ง7สาขาด้วยความที่สาขานี้ต้องสร้างสรรค์งานศิลปะในรูปแบบที่เป็นวัตถุและวัสดุต่างๆเมื่อสิ้นสุดกระบวนการแล้วไม่มีการจัดการที่ถูกต้องจึงต้องทิ้งร้างทั่วตึกประติมากรรม กลายเป็นทั้งเศษและซากของงานศิลปะที่ไม่มีใครต้องการ
เมื่อได้พูดคุยกับนักศึกษาศิลปะสาขาจิตรกรรมและประติมากรรมความรู้สึกที่มีต่อผลงานของตัวเองที่ไม่ได้ไปต่อนั้นเป็นอย่างไร เราก็ได้คำตอบกลับมาว่า
‘รู้สึกเสียใจอยากให้มันไปทำอย่างอื่นที่มีประโยชน์มากกว่าเก็บในห้องเก็บของ อยากให้อย่างน้อยได้แขวนโชว์ได้’
‘เปลืองตังค์มากเลยนะ แอบเสียความรู้สึกที่ไม่สามารถเอาไปใช้ประโยชน์ต่ออีกได้น่ะ’
จึงไม่แปลกใจที่ผู้สร้างสรรค์จะรู้สึกแบบนี้ อีกทั้งในระดับนานาชาติยังมองว่าธุรกิจทางศิลปะเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย
สุดท้ายแล้วเส้นทางของการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและจุดยืนทางด้านแนวคิดนั้นเป็นเรื่องสำคัญมากๆสำหรับนักศึกษาศิลปะทุกคน แต่เราต้องกลับมาคิดกันใหม่ว่าเมื่อสิ้นสุดปลายทางการสร้างสรรค์ผลงานแล้วเราสามารถจัดการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้หรือไม่ ในความคิดของนักศึกษาเองผลงานศิลปะที่แต่ละคนถ่ายทอดออกมานั้นล้วนมีคุณค่าในตัวมันเองทั้งสิ้น หากงานศิลปะมีชีวิตจิตใจคงรู้สึกเศร้าใจไม่น้อยที่หมดวาระแล้วต้องถูกทิ้งไร้คนใส่ใจ
รุ่งฤดี เชี่ยวชาญ 580310081
Comments