“เชียงใหม่” หนึ่งในเมืองแห่งศิลปะของไทย ไม่ว่าจะแบบล้านนาโบราณหรือศิลปะร่วมสมัย และยังมีอีกหนึ่งแขนงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเสน่ห์ของเมืองเชียงใหม่ นั่นคือ “Graffiti” ศิลปะที่ผู้สร้างสรรค์ใช้เป็นอาวุธในการสะท้อนเรื่องราวต่างๆให้ปรากฎในที่สาธารณะ ซึ่งงานเหล่านี้ล้วนมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ทั้งเพื่อความสวยงาม การแสดงตัวตน การเสียดสี จนกระทั่งการเรียกร้องสิทธิ
Graffiti ถูกมองในแง่ลบในช่วงแรก บางคนมองว่าเป็นศิลปะที่ใช้ปลดปล่อยอารมณ์ของพวกวัยรุ่นขี้ยาเท่านั้น โดย Graffiti เกิดจากการปลุกระดมคนให้ขึ้นมาต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม และการชี้นำให้คนออกมาทำ “Graffiti Campaign” เพื่อต่อสู้กับความคิดของรัฐบาลที่กดขี่ประชาชน ข้อความง่ายๆจากลายฉลุที่ทำกันเอง ภายในเวลาไม่นานงาน Graffiti ที่ถ่ายทอดผ่านความรู้สึกอัดอั้นก็กระจายไปทั่วเมืองโดยเรื่องที่มักถูกหยิบยกมาทำ Graffiti จึงมักเป็นการเสียดสีเรื่องสังคม วัฒนธรรม และการเมืองที่มีความไม่เสมอภาคอีกทั้งยังมีการแสดงตัวตนที่เกิดจากความคับแค้นใจและต้องการอิสระภาพ ผ่านลวดลายที่ระบุชื่อหรือนามแฝงของตนเอง ทำให้ผู้พบเห็นมีทัศนคติกับงาน Graffiti ว่าเป็นงานศิลปะของนักเลงป่วนเมือง
แต่แวดวง Graffiti เติบโตมากขึ้นเรื่อยๆในจังหวัดเชียงใหม่ และได้รับการยอมรับมากขึ้นจากคนหลากหลายกลุ่มในสังคม ว่านี่คือศิลปะอีกแขนงหนึ่ง โดยมีศิลปินชื่อดังมากมายที่เข้ามาแสดงลวดลายสีสันเพื่อปรับภูมิทัศน์ให้กับชุมชนย่านนั้นๆมากขึ้น จากกำแพงที่ว่างเปล่าและตึกร้างที่ไม่ได้รับการปรับปรุงกลับเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว เป็นสถานที่ที่ผู้พบเห็นอยากบันทึกภาพเก็บเอาไว้ จนกลายเป็นความสำเร็จของ Graffitiในปัจจุบัน ผ่านคาแรคเตอร์ที่สวยงาม แฝงตัวตนและเรื่องราวของศิลปิน จึงกลายเป็นงานศิลปะที่มีความหมายเกินกว่าจะถูกนำไปใส่ในเฟรมหรือนำไปเป็นสินค้า เพราะงาน Graffiti เกิดจากความคิดหรือความรู้สึกภายในที่เป็นอิสระของศิลปิน มีความเฉพาะตัวแตกต่างกันออกไป ดังนั้น “ถ้าหากคุณเอางาน Graffiti ไปแสดงในแกลลอรี่ มันก็ไม่ต่างจากการเอาสัตว์ไปใส่ไว้ในกรงขัง”
รวี สีขาว 580310049
Comments