ไท ใน ไทย
- waranya panraksa
- 30 มี.ค. 2562
- ยาว 1 นาที
อัปเดตเมื่อ 2 พ.ค. 2562
ก็เป็นได้แค่นี้, they said
คำตอบของคนไตหรือไทใหญ่คนหนึ่ง ที่แทนไทหลายคน
คำถามของคำตอบนี้มาจากการที่อยากรู้ว่า ทำไมชาวไทใหญ่ถึงเลือกที่จะประกอบอาชีพที่เป็น ประเภทของลูกจ้าง หรือไม่เป็นนายตัวเอง ซึ่งก็ได้คำตอบว่าพวกเขาสามารถทำได้แค่นี้
เพราะเป็นเรื่องยากที่จะลงทุน หรือเป็นเจ้าของกิจการทั่วไปได้
เนื่องจากการเข้ามาทำงานในประเทศไทยของชาวไทใหญ่บางคนนั้น ยังไม่ถูกกฎหมาย
จึงทำให้มีตัวเลือกในการใช้ชีวิตน้อย สามารถทำได้แค่อะไรที่เป็นพื้นฐาน หรืออาชีพเบื้องต้น

แล้วทำไมถึงเลือกที่จะย้ายมาใช้ชีวิตในประเทศไทย
นี่คือคำถามต่อมาเมื่อได้รู้เกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้
และสิ่งที่พวกเขาตอบกลับมาก็มักจะเกี่ยวกับความมั่นคงทางความเป็นอยู่ และการเงิน
ถึงจะเข้ามาพร้อมกับความเสี่ยง แต่มันก็คุ้มสำหรับพวกเขา

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการจดทะเบียนรับรองการเข้ามาใช้ชีวิตหรือประกอบอาชีพของ
ชาวไทใหญ่แล้ว แต่ทำไมยังเกิดการไม่ยอมรับ
มันคงเกิดจากพื้นฐานความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ ที่มีการแสดงความหวงหรือความไม่พอใจ
ในการที่คนนอกเข้ามาแย่งชีวิตความเป็นอยู่
แต่กับประเด็นนี้ ชาวไทใหญ่เอง ไม่ได้เก็บมาคิดสักเท่าไหร่นัก
เขาว่าต้องปรับตัว และอยู่ร่วมกับอื่นให้ได้

สมัยนี้มีการยอมรับมากขึ้น ในเรื่องของการศึกษา และความสัมพันธ์กันในสังคม
ขยายได้ว่า มีการเปิดการเรียนการสอนในรูปแบบปกติทั่วไปที่เหมือนกับโรงเรียนรัฐ เพื่อให้นักเรียน ไทใหญ่ได้เรียนโดยเฉพาะ และบางที่ยังมีคนไทยที่เข้าไปเรียนอีกด้วย อีกทั้งยังมีการอยู่ร่วมกันใน สังคมมากขึ้น จะเห็นว่ามีการเปิดให้คนไทใหญ่เข้าไปเป็นเจ้าของพื้นที่ในทางการค้า อย่างเช่นการ เป็นเจ้าของแผงอาหารท้องถิ่นในตลาด หรือเจ้าของร้านตัดชุดประจำชาติของคนไทใหญ่
แต่ก็อย่างว่า มันก็ยังเป็นอาชีพเพื่อชาวไทไม่ใช่ชาวไทยอยู่ดี
คนไทใหญ่ส่วนมากที่อาศัยอยู่ในเชียงใหม่ มักจะประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับการค้าขายอาหาร
ซึ่งอาหารที่นำมาขายนั้น จะมีประเภทที่เป็นทั้งอาหารไทยแท้ อาหารพื้นเมืองเหนือ และอาหารประจำ ชาติชาวไทใหญ่เอง ซึ่งอาหารประจำชาติของพวกเขาที่เลือกมาใช้ในการค้าขายในเชียงใหม่
ส่วนมากจะเป็นอาหารที่ประกอบไปด้วยเส้นอี่สี่เก็ท เป็นเส้นที่คล้ายกับบะหมี่บ้านเรา แต่มีความหนึบ และเส้นกลมกว่าเล็กน้อย เมนูที่นำเส้นนี้มาใช้เป็นวัตถุดิบก็คือ ข้าวซอยอี่สี่เก็ท และวัตถุดิบร่วมก็คือ . หมูแดง และต้นหอม มองดูผ่าน ๆ จะนึกว่าเป็นเมนูบะหมี่หมูแดงแห้งเลยก็ว่าได้
เส้นอี่สี่เก็ท ข้าวซอยอี่สี่เก็ท
และอาหารประจำชาติที่นำมาเป็นวัตถุดิบในการทำอาหารอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถั่วเน่า
ถั่วเน่าพิมพ์แผ่นกลม ถั่วเน่าพิมพ์แผ่นกลมแบบทอด
นอกจากนี้ อาหารไทใหญ่ที่สามารถหาทางได้ทางภาคเหนือ ก็จะมีเมนูน้ำพิดพู(น้ำพริกปลาทูชาว ไต) ยำถั่วแตบ(ถั่วแปบทรงเครื่อง) เน่อลุง(หมูปั้นก้อน) ผักจอลอแล(แกงส้มผักรวม) และผักส้มผัดหมู สามชั้น(ตำรับชาวไต) เป็นต้น
เนื่องจากมีการยอมรับที่มากขึ้น ทำให้ความคิดที่ว่า ก็เป็นได้แค่นี้ ของชาวไทใหญ่ ได้มีความ หมายที่แตกต่างออกไปในทางที่ดีขึ้น เช่น การได้รับการบริการโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านนายจ้างคน ไทย หรือการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาของชาวไทใหญ่ ทำให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น
การนำภาษาไทใหญ่หรือที่เรียกว่าภาษาฉานมาใช้ในการสื่อสาร ส่วนมากจะพบตามสถานที่ที่ คนไทใหญ่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และจะถูกใช้ในเรื่องของการค้าขาย เช่น ร้านอาหาร และร้านค้า เป็นต้น แต่สิ่งที่ทำให้เราสามารถเห็นภาษาไทใหญ่ได้โดยทั่วไป ก็คือตู้เอทีเอ็มของธนาคารออมสิน ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่ภาษาไทใหญ่ซะทีเดียว มันคือภาษาพม่า แต่ด้วยการเขียนที่มีความคล้ายคลึง มาก ทำให้คนไทใหญ่บางส่วนสามารถเข้าใจได้
และการได้รับการบริการโดยตรง เช่น การซื้อขายมอเตอร์ไซด์หรือรถยนต์ สามารถทำได้อย่าง ถูกกฎหมาย แค่มีใบอนุญาติทำงานในประเทศไทยเท่านั้น เป็นไปได้ว่าสมัยนี้การดำรงชีวิตใน ประเทศไทยของคนไทใหญ่ เกิดความสะดวกสบายมากขึ้น และสามารถทำอะไรหลาย ๆ อย่าง เหมือนที่คนไทยทำได้
ทำให้ความคิดที่ว่า ก็เป็นได้แค่นี้ ไม่แค่นี้อีกต่อไป
Comments