top of page

ปอดโปร่ง

  • รูปภาพนักเขียน: .doc team
    .doc team
  • 18 เม.ย. 2559
  • ยาว 1 นาที


ในระหว่างทางอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ สิ่งที่มองเห็นตลอดข้างถนนตั้งแต่รถเคลื่อนเข้าไปสู่ทางกลับบ้านนั้นก็คือไร่ยาสูบ ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นมาตลอดจนคุ้นชินตา ทำให้เกิดความคิดสงสัยว่าทำไมคนถึงยังปลูกกันอยู่ทั้งๆที่ในสมัยปัจจุบันมีการทำบุหรี่สำเร็จรูปออกมาวางขายกันอย่างแพร่หลายแล้ว มีเพียงแต่คนในหมู่บ้านเท่านั้นที่เลือกจะสูบบุหรี่ที่ทำมาจากยาสูบแทนที่จะสูบบุหรี่สำเร็จรูป จึงได้ทำการริเริ่มหาข้อมูลเพื่อตอบคำถามให้กับตนเอง


จากไร่ยาสูบแล้วไปไหนต่อ? ขั้นแรกก่อนที่จะออกมาเป็นยาสูบหรือ “บุหรี่ขี้โย” ที่ใช้สูบได้นั้นจะต้องนำใบที่เก็บมาได้ทั้งหมดมาคัดแยกเพื่อนำส่วนที่ใช้ไม่ได้ทิ้งไป จากนั้นจึงนำเข้าเตาอบเพื่อทำให้แห้ง ก่อนที่จะนำมาจัดวางให้เป็นระเบียบและห่อกระสอบเพื่อทำการส่งให้กับพ่อค้าคนกลางต่อไป





ขี้โยส่วนใหญ่จะมีจำหน่ายตามตลาดและร้านขายของชำเก่าๆแถวรอบนอกตัวเมือง ต่างจากในเมืองที่หาซื้อได้ยากเนื่องจากผู้บริโภคจะเลือกซื้อบุหรี่สำเร็จรูปมากกว่าเพื่อความสะดวก ขี้โยที่วางจำหน่ายจะมีสองแบบคือ ขี้โยที่อัดออกมาเป็นก้อน และขี้โยที่นำมาใส่ถุง โดยแต่ละร้านจะมีใบยาสูบที่พร้อมใช้วางจำหน่ายคู่กันด้วย




หลังจากรู้ที่มาของบุหรี่ขี้โยแล้ว ต่อมาจึงได้เข้าไปสอบถามคุณลุงสองคนที่เป็นคนที่สูบบุหรี่ขี้โยเกี่ยวกับความรู้สึกต่างๆเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม หลังจากที่ได้คุยกับคุณลุงแล้วจึงได้รู้ว่า คุณลุงหนึ่งในสองคนนี้เป็นคนที่สูบบุหรี่ขี้โยมาตั้งแต่สมัยยังเป็นวัยรุ่นจนถึงปัจจุบัน เป็นสาเหตุทำให้เป็นโรคถุงลมโป่งพอง จนต้องเข้ารับการรักษาอยู่เรื่อยๆตามอาการ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณลุงยังคงสูบอยู่เป็นเพราะเมื่อได้สูบแล้วรู้สึกว่ามีพละกำลังในการทำงานมาก และสามารถที่จะทำงานได้เยอะและนานขึ้น




คุณลุงคนนึงกล่าวว่า “ถ่ายๆไปเถอะ ถ่ายไปเยอะๆบุหรี่ขี้โย เดี๋ยวนี้คนในเมืองเขาไม่สูบกันแล้ว มีแต่คนเฒ่าคนแก่เท่านั้นแหละที่ยังสูบอยู่ เพราะมันถูกและหาซื้อง่ายกว่า ทั้งยังได้อนุรักษ์มันเอาไว้ไม่ให้มันสูญหายไปตามกาลเวลา”


ควันบุหรี่ที่พ่นออกมานั้น ถึงแม้จะด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นการอนุรักษ์ไว้ซึ่งสิ่งที่ใกล้จะสูญหายไป แต่ผลที่ได้กลับมากลายเป็นอากาศที่ “ไม่ปลอดโปร่ง” ส่งผลกระทบให้คนรอบข้างเดือดร้อน ทั้งยังส่งผลให้ผู้ที่สูบมันเข้าไปนั้น “ปอดโปร่ง” ไปเรื่อยๆจนท้ายที่สุดอาจจะไม่เหลืออะไรไว้เลยแม้แต่ผู้ที่ตั้งใจจะอนุรักษ์สิ่งนั้นไว้...





© 2016 by fotofofa : Photographic Art
Department of Media Arts & Design, Chiang Mai University 

  • Facebook Basic Black
  • Twitter Basic Black
  • Instagram Basic Black
bottom of page