top of page
รูปภาพนักเขียน.doc team

AH 11




ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11 เป็นเส้นทางที่ผมสัญจรอยู่เป็นประจำไม่ว่าจะเดินทางไปเรียนหรือทำธุระต่างๆ ในตัวเมืองเชียงใหม่ ผมเป็นคนเชียงใหม่ตั้งแต่เกิดนี้ทำให้ผมเห็นทุกการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม วิถีชีวิต และผู้คนที่หลั่งไหลเข้ามาอาศัยในจังหวัดเชียงใหม่เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องชาวไทยด้วยกันเอง หรือจะเป็นนักท้องเที่ยวต่างชาติ ผมเห็นตึกราบ้านช่องผุดขึ้นมามากมายในช่วงเวลาไม่กี่ปี ทั้งหมดนี้ทำให้ผมรับรู้ถึงการขายตัวของชายเมือง ความศิวิลัยที่กำลังจะมีเพิ่มมากขึ้น มากขึ้น และมากขึ้น สิ่งที่เห็นชัดที่สุดในปี พ.ศ.2559 คือการขยายถนนทางหลวงหมายเลข 11 เส้นทางที่ผมสัญจรเป็นประจำ



สายตาที่ผมมองสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา คือความทรงจำของผมในแต่ละช่วงชีวิต ถนนเส้นนี้กำลังจะถูกขยาย และพัฒนาให้ดีขึ้นเพื่อการคมนาคมที่ดีขึ้นของจังหวัดเชียงใหม่ ถนนเส้นนี้เริ่มพัฒนาให้ดีจากเดิมในปี พ.ศ.2558 และตามสัญญาจ้างงานที่ผมได้ล้วงรู้มาคือจะสิ้นสุดการก่อสร้างในปี พ.ศ.2560 ซึ้งใช้เวลาในการสร้างทั้งหมดเป็นเวลา 3 ปี และระยะเวลาในการทำงานอาจมีการคลาดเคลื่อนตามสภาพอากาศ และปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดระหว่างการจัดการสร้างถนนแห่งนี้



ผมเดินอยู่ท่ามกลางไซต์งานก่อสร้างแห่งนี้มองไปรับกายเห็นผู้คนมากมายทำงานกลางแดดจัด และต้องทำกับสภาพอากาศที่ร้อนระอุ เสียงเครื่องจักรดังจนผมถูกตัดขาดจากโลกภายนอก ผมนึกขึ้นได้ ผมไม่ไม่เคยฝันว่าอาชีพที่ผมจะทำคืออารีพแรงงานแม้แต่น้อย แน่นอนอาชีพแรงงานถือเป็นอาชีพที่ทุกคนไม่ฝันถึง แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่ทุกคนที่จะหนีจากอาชีพนี้ได้ ในไซต์งานก่อสร้างแห่งนี้ก็เช่นกัน ผู้คนมากมายที่ผมมีโอากศได้พูดคุยและทำความรู้จักในไซต์งานต่างมีภาพฝันที่สวยหรู แต่ด้วยภาระหน้าที่ต่างๆ มันบีบบังคับให้พวกเขาต้องเอาแรงไปแลกกับเงิน ทนกับการกินอยู่ที่แสนลำบาก เพียงเวลาพักกินข้าวยังต้องหลบมากินเงียบๆลำพัง แถมสุขภาพยังต้องแย่ลงเรื่อยๆ จากฝุ่นควัน และเสียงเครื่องจักรที่ดังมหาศาล แสงแดดจัดจ้านกัดกินผิวหนังของพวกเขา เสื้อเชิ้ตตัวบางบดบังแสงแดดที่ร้อนระอุได้เพียงเล็กน้อย แต่ทุกคนต่างก้มหน้าก้มตาสร้างถนนแห่งนี้ให้เสร็จตามสัญญาของนายจ้างผู้พอมีอันจะกิน ที่คอยเดิมตรวจงานอยู่ห่างๆ คอยให้คำแนะนำแรงงานของพวกเขา แถมในไซต์งานยังมีนายทุนบริษัตรต่างๆ ที่ยืนอยู่ในร่มเงาใต้เต้นพราสติก




ทุกอย่างมันชัดยิ่งขึ้นเมื่อผมให้ความสนใจเรื่องของยูนิฟอร์ม ผมมองเห็นเรื่องชนชั้นในแรงงานแยกกันอย่างเด่นชัด เสื้อผ้าที่แรงงามสวมใส่ กระเป๋าที่มีไว้สำหรับห่อกับข้าวมากินในกลางวัน หมวกที่ทุกคนควรจะมีมันเพื่อป้องกันอันตราย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับหมวกนั้น ผมได้ถามเพื่อนของผมคนหนึ่งถึงหมวก เพื่อนผมคนนี้เขาเป็นแรงงานข่้ามชาติที่มาทำงานในประเทศไทยได้เพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผมถามถึงเรื่องทำไมเขาไม่ใส่หมวก เขาได้เล่าให้ผมฟังว่า “หมวกมีจำนวนไม่พอให้แรงงานทุกคนหรอก พวกผมต้องตัดสินใจว่าจะเอาหมวกให้ใครใช้ในพวกผมเอง ไม่ต้องสงสัยหรอกหัวหน้าผมแหละหนึ่งคนที่ต้องรับหมวกนี้ไป” ผมจึงถามเขาต่อว่าทำไมเขาเลือกที่จะเอาหมวกให้คนอื่นและเขาทำงานแบบไม่มีหมวกป้องกันตัวเอง “มันเป็นสิ่งที่ถ้าทุกคนมีหมวกป้องกันตัวเอง แต่ในเวลาทำงานจริงมันไม่สะดวกแบบนั้น มันทำให้ผมทำงานช้าลง ผมต้องทำงานให้เสร็จวันต่อวัน ไม่งั้นผมก็ไม่ได้กลับบ้านบางวันผมอยู่ถึง 3 ทุ่ม ผมขอทำงานของผมให้เสร็จไวๆ แล้วกลับบ้านไปหาลูกเมียดีกว่า” เขาพูดจบผมเข้าใจถือความคิดถึงนั่นพอจนผมไม่คิดถามต่อ



หัวหน้าผู้รับเหมาท่านหนึ่งเล่าให้ผมฟังว่าไซต์งานนี้มีผู้รับเหมาหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็จะทำงานเพียงแค่ของตัวเองเท่านั้น แต่มันก็ทำให้งานเสร็จไวขึ้น และน้อยมากที่แรงงานจะรู้จักกันทุกคน




สิ่งที่ผมเห็นอยู่ตลอดเวลาคือโลโก้ของบริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อนสร้าง ผมได้มีโอกาศพูดคุยกับนายทุนท่านหนึ่ง เขาพยายามพูดถึงแต่หลักฐานเชิงตัวเลข ราวกับผมเป็นหนังสือคดีทุจริต เขาไม่เคยพูดถึงความเป็นอยู่ในไซต์งานแม้แต่น้อย เขาพูดแต่เรื่องบริษัทนายทุ่น เม็ดเงินงบประมาณ และสัญญาต่างๆ อยู่ตลอดเวลา


ผมคิดในใจถนนเส้นนี้ต้องใช้แรงงานที่มหาศาล และการจารจรบริเวณนี้จะติดขัดไปจนกว่าการสร้างจะเสร็จ ฝุ่นควันต่างลอยตัวไปติดที่อยู่อาศัยของผู้คนใกล้เคียง และปัญหาทางเสียงของเครื่องจักที่ร้องคำรามตลอดเวลาในไซต์งานแห่งนี้ ผมได้แต่หวังให้ถนนสายนี้ก่อสร้างเสร็จโดยเร็วที่สุด



ดู 33 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

ครูโขน

GROUPIE

bottom of page