top of page
รูปภาพนักเขียน.doc team

เด็กเเลกเปลี่ยน


เรื่องนี้นำเสนอเรื่องชีวิตของเด็กคนหนึ่งที่เกิดในครอบครัวของแรงงานชาวพม่าที่จากบ้านมาไกลด้วยความจำเป็นทางการเงินและดิ้นรนที่จะสู้เพื่อมีชีวิตอยู่เพื่อเป้าหมายที่จะได้กลับไปยังบ้านเกิดของพวกเขาอีกครั้ง จะเล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กที่อาศัยอยู่ในแค้มป์คนงานชีวิตการเรียน การไปโรงเรียน การเป็นอยู่กับพ่อแม่ เพื่อนๆข้างบ้าน และสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเขา ซึ่งในความเป็นเด็กก็คงเป็นชีวิตที่ดีมีความสุขพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่สิ่งที่มีอยู่ มันก็อาจจะจริงในช่วงเวลาหนึ่งแต่พอเมื่อเวลาผ่านไปสิ่งเหล่านั้นที่เด็กๆเคยคิดก็อาจเปลี่ยนแปลงไป ด้วยเหตุผลปัจจัยหลายๆอย่าง ที่อยู่อาศัย ที่พวกเขามาอยู่ก็คือแค้มป์ที่เป็นเหมือนบ้านของแรงงานพม่าที่เข้ามาทำงานและอยู่ในประเทศไทย แค้มป์ไม่ใช่ที่อยู่ถาวรแต่เป็นเพียงที่อยู่ชั่วคราว เมื่อทำงานเสร็จและมีงานที่ใหม่ คนงานานพม่าเหล่านั้นก็ต้องย้ายตาม จากการสำรวจครอบครัวแรงงานที่อนู่ในแค้มป์ส่วนใหญ่จะมีลูกเยอะ พวกเขาไม่คุมกำเนิดและมีพื้นที่อยู่น้อย และมีรายได้ที่ไม่พออกับสมาชิกในครอบครัว เมื่อเด็กที่เกิดมาก็อาจจะได้รับปัญหาต่างๆมากมาย ทั้งในเรื่องของการย้ายที่เป็นประจำ ไม่มีความแน่นอน ทำให้ส่งผลไปยังการเข้าอยู่ของโรงเรียนที่ต้องออกเพื่อย้ายที่ตามพ่อแม่ของพวกเขา และที่สำคัญก็คือเรื่องรายได้ที่มีไม่มากพอที่จะเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัวทั้งหมดได้ ทำให้เด็กหลายต่อหลายคนที่เริ่มโตและมีน้อง ต้องหยุดพักเรื่องเรียนและมาทำงานเหมือนพ่อแม่ของเขาเพื่อทำให้ครอบครัวเขาอยู่


นักแสดงนำ เด็กชาย จอระ เตเมือง

นักแสดงรอง เด็กๆในแค้มป์คนงานหลังมอ และ บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับเด็กชาย จอระ เตเมือง

กำกับภาพ นางสาว โยษิตา เลิศธนะโภค


โยษิตา : จอระ ย้ายมาอยู่ที่ไทยนานหรือยังครับ ?

จอระ : ผมมาอยู่ที่นี่ได้ 2 ปีกว่าละครับมาอยู่กับ พ่อ แม่ ละก็น้องชาย



จอระ : ตรงนี้ก็บ้านของผมครับ ผมชอบดูทีวี ดูเรื่องแมวกับหนู แต่ตอนนี้มันพัง พ่อก็ไม่เอาไปซ่อมซักทีผมเลยไม่ได้ ดูเลย

จอระ : เวลาเท่าไหร่ ?

โยษิตา : 5 โมงแล้ว ทำไมหรอครับ ?

จอระ : ผมต้องไปหุ้งข้าว อาบน้ำให้น้อง แม่สั่งเอาไว้ครับ



จอระ : ผมมีเพื่อนสนิทคนนึ่งชื่อไอ่จ้อยยย มันอยู่บ้านข้างๆผม เรียนห้องเดียวกับผม นั่งข้างๆผม

โยษิตา : เสาร์อาทิตย์ ไปเที่ยวไหนกัน

จอระ,จ้อย : ไม่ไปก็เล่นอยู่ที่บ้าน เล่นกะเพื่อน อยู่ที่นี่



โยษิตา : พี่ถามหน่อยโตมาอยากเป็นอะไรกันหรอ ?


จอระ : ไม่รุ้วว

จ้อย : ผมอยากถือกล้องเหมือนพี่ (หัวเราะ)

จอระ : ผมก็อยากเหมือนไอ่จ้อยย

จ้อย : งั้นผมขอลองถ่ายหน่อย

จอระ : ผมก็ขอถ่ายด้วยย ให้กูก่อยไอ่จ้อย

จอระ : (หัวเราะ) ไอ่จ้อยหน้าโครตตลกเลย

จ้อย : ตากูบ้าง


จ้อย : ผมถ่ายรูปพี่ด้วย

โยษิตา : เราเรียนที่ไหนกัน.....


โรงเรียนบ้านโป่งน้อย



คุณครูประจำชั้นป.1/2 : ช่วงงนี้เด็กๆเขามีสอบกันค่ะ วันนี้ก็วิชา หน้าที่พลเมืองดี กับ คอมพิวเตอร์

จอระ : วันนี้ตอนสอบไอ่จ้อยมัน คอโครตยาว มันลอกข้อสอบผม ลอกโครตเก่งอะไอ้จ้อย

จ้อย : มึงก็เหมือนกันแหละไอ่จอ มึงก็ลอกวันนี้ตอนสอบกูเห็น (หัวเราะสะใจ)



คุณครูประจำชั้น ป.1/2 : เด็กสองคนนี้เนี้ยนะครูเหนื่อย ไม่สนใจ ไม่ตั้งใจเรียนเลย ตามเพื่อนก็ไม่ทัน ขาดก็บ่อย

โยษิตา : อ่อคะ

คุณครูประจำชั้น ป.1/2 : เสียดายรัฐบาลส่งให้เรียนฟรี เขาไม่ค่อยสนใจหรอก เดี๋ยวพอโตอีกหน่อย พ่อแม่ก็ให้ ออกไป หรือไม่พอแม่ย้ายแค้มป์ก็พากันออกไปหมด ดูอย่างห้องโน้น อายุ 13 ยังอยู่ป.3 อยู่เลย เดี๋ยวเข้าเดี๋ยวออก

คุณครูประจำชั้น ป.1/2 : ปีนี้เด็กสองคนนี้ก็ต้องซ้ำชั้น สอบ เขียนอ่าน ไมผ่านเกณฑ์อ่านเขียนภาษาไทยของ นักเรียน ป.1 เลย เห้ออคุณครูถอดหายใจแบบเซ็งๆ

โยษิตา : โรงเรียนนี้มีทุนเรียนฟรีหรอค่ะ

คุณครูประจำชั้น ป.1/2 : ใช่คะทุนสำหรับทุกคนเลยที่มาเรียนจนถึง ป.6 แต่ 50% ของที่นี้ก็จะเป็นเด็กจากที่แค้มป์ คนงานนี้แหละคะ


คุณครูประจำชั้น ป.1/2 : เอาหละเงียบๆ ! ใครที่ทำข้อสอบเสร็จแล้ว ก็ตรวจความถูกต้องอีกรอบมั่นใจแล้วก็วาง ดินสอส่งมาให้คนด้านหลัง




โยษิตา : ทำไมวันนี้ถึงไม่ไปโรงเรียนครับ จอระ ?

จอระ : ไม่รุ้วว



เรื่องราวทั้งหมดนี้ ของเด็กชาย จอระ มันก็คงเป็นเหมือนดูหนังตอนหนึ่งในซีรี่ส์ที่มีชื่อว่า เด็กแลกเปลี่ยน ที่ มีเหมือนกันกับเด็ก คนอื่นๆในเเค้มป์ มีจุดเริ่มต้นของชีวิตที่คล้ายกันความเป็นอยู่ที่เหมือนกัน และสามารถเลือกทางเดินชีวิตของตัวเองได้เหมือนกัน แต่ยังไง ตอนจบของหนังในซีรี่ส์เรื่องนี้ ส่วนใหญ่ก็ยังคงมีตอนจบอยู่แบบเดียวเนื้อเรื่องเดิมๆ จนมันทำให้ย้อนคิดไปถึงตอนที่เราตั้งเริ่มคำถามให้ให้กับเด็กพวกนี้ตั้งมากมาย #พ่อแม่มีลูกเยอะทำไม #ไม่มีค่าเลี้ยงดู #มีความสุขรึเปล่า #การศึกเป็นอย่างไร #พ่อแม่เอาใจใส่รึเปล่า ละก็ยังมีอีกมากมายตั้งตั้งตั้งตั้งขึ้นมาเรื่อยๆ

จนตอนนี้ที่มาจนถึงจุดสุดท้ายที่ไม่ท้ายสุดของโปรเจค มันต่างกับความคิดความรู้สึกในตอนแรกที่คิดไว้ เราเริ่มไม่ได้สนใจปัญหาที่มี แต่เราสนใจคำถามที่เราตั้ง ว่าที่จริงแล้วคนที่บอกว่ามันคือปัญหา ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาด้วยรึเปล่า ด้วยข้อจำกัดหลายๆอย่างที่เรา แบ่งพวกเขาออกจากพวกเรา ด้วย หลายๆสาเหตุ ที่ไม่ต้องบอกทุกคนก็พอจะรู้ดีอยู่แล้ว สุดท้ายนี้ เราคิดว่าสิ่งที่พวกเขาเป็นอยู่มันไม่ใช่ปัญหา แต่มันก็เป็นเพียงวิถีชีวิตของ เด็กในแค้มป์ พวกเราเองซะมากกว่าที่เป็นปัญหาในการดำเนินชีวิตของพวกเขา แม้แต่ตัวของเราเองที่สนิทกับพวกเด็กๆ ก็ถูกมองว่าเป็นปัญหา สำหรับพวกเขา ด้วยเช่นกัน


จอระ : พี่ๆ ไอ่ซิ่น ไอ่พง ไอ่จำรูญ มันก็อยากลองถ่ายบ้าง

ซิ่น : เอ้าาา หนึ่ง.. สอง.. สาม..


ดู 7 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

ครูโขน

GROUPIE

bottom of page