top of page
รูปภาพนักเขียน.doc team

ยายเงิน


ยายเงิน

บทเรียนชีวิตที่เรียบง่ายแต่แฝงไว้ซึ่งข้อคิด

เรื่องราวชีวิตของ ”ยายเงิน” ชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่ง สะท้อนภาพของคนจน ที่ไม่มีโอกาสได้เล่าเรียนอะไร แต่ก็พยายามทำชีวิตให้มีคุณค่าที่สุด คนดีในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ความกตัญญูของลูกหลานต่อพ่อแม่ผู้สูงอายุเริ่มหาได้ยากเต็มทน ความมีน้ำใจ และเอื้ออาทรต่อสังคม เริ่มลดลงหรือมีเพียงภาพที่ดูเป็นหน้าเป็นตาเท่านั้น

ยายเงิน เป็นลูกคนโต ของตาชื่นและยายน้อย และมีน้องอีก 4 คน ด้วยความที่เป็นพี่คนโตสุด จึงไม่ได้เรียนหนังสือ แต่ไปรับจ้างทำนา รับจ้างเย็บผ้า ต้องสละความสุขส่วนตัวทำงานและส่งเสียน้องๆอีกสี่คนจนเรียนจบได้งานดีๆทำ มีครอบครัวที่สบาย และแยกย้ายกันไปอยู่ที่อื่นๆ ส่วนยายเงินได้แต่งงานกับลุงอเนก คนขับรถรับจ้าง




ต่อมาตาชื่นได้ล้มป่วยลง ลูกทั้งสี่คนต่างบอกว่า มีภาระครอบครัวมากไม่สามารถมาดูแลพ่อแม่ได้ เงินทองก็ไม่จุนเจือให้ คำกล่าวที่ว่า “พ่อแม่สองคน เลี้ยงลูกเป็นสิบได้ แต่ลูกสิบคนเลี้ยงพ่อแม่สองคนไม่ได้”



ในสังคมเราเริ่มพบมากขึ้นทุกวัน แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นการไม่อยากเลี้ยงมากกว่าการเลี้ยงไม่ได้ ยายเงิน จึงเป็นลูกเพียงคนเดียวที่เสียสละชีวิตครอบครัวของตัวเองโดยไม่เคยบ่นเพื่อมาดูแลพ่อและแม่ที่บ้านนอก เป็นระยะเวลา 30 กว่าปี ตลอดมายายเงินต้องรับจ้างเย็บผ้าเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูพ่อซึ่งป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ ไม่สามารถดูแลตัวเองได้และแม่ซึ่งสุขภาพก็ไม่แข็งแรง ชีวิตของยายเงิน



นอกจากความกตัญญูแล้ว ยังมีเมตาต่อผู้ยากไร้ หลังจากกลับมาบ้านไม่นาน ยายพบว่าเพื่อนบ้านผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งเป็นคนสติไม่สมประกอบ ถูกข่มขืนและตั้งท้องจนคลอดลูกออกมา แต่ไม่มีความสามารถที่จะเลี้ยงดูลูกได้ ยายเงินจึงสงสารและได้ช่วยอุปการะเลี้ยงดูเด็กคนนั้นตามมีตามเกิดจนปัจจุบันเขาดูแลตัวเองได้และมีงานทำ นับเป็นความมีเมตตาของคนจนที่มีน้ำใจ ยายเงินยังมีความเมตาต่อสัตว์ โดยการทำอาหารไปเลี้ยงสุนัขจรจัดที่วัดข้างๆบ้านทุกวัน เวลาที่วัดมีงานยายจะไปช่วยทำอาหาร กวนข้าวต่างๆ โดยที่ยายบอกว่า “หากไม่มีเงินทำบุญเราสามรถทำได้ด้วยแรงกายแรงใจ”



เมื่ออายุ 62 ปี ยายเงินล้มป่วยด้วยโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทจนต้องผ่าตัด ไร้ซึ่งพี่น้อง แต่ก็กัดฟันสู้โดยยายบอกว่า “ยายขอภาวนาให้มีชีวิตอยู่เพื่อดูแลพ่อแม่จนกว่าทั้งสองจะตายก่อน” คำภาวนานี้เป็นผลทำให้ยายหายและกลับมาทำงานได้อีกครั้ง ตาชื่นนอนช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องป้อนข้าวป้อนน้ำ อุ้มเข้าห้องน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า แม้ตัวยายเองจะเจ็บหลังแต่ก็ทำหน้าที่ด้วยใจเต็มร้อยจนถึงวันสุดท้ายของชีวิตตาชื่น เหลือเพียง สองคนแม่ลูกที่ต้องสู้กันต่อไป “อัตตาหิ อัตโนนาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน และ ความดีเป็นที่พึ่งของชีวิต ” ยายบอกด้วยใบหน้าที่ยิ้มเสมอ



ชีวิตชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่งที่น่ายกย่องในแง่มุมของความกตัญญูรู้คุณ มีน้ำใจ และคิดบวกกับชีวิต ซึ่งปัจจุบันหาได้ยากเต็มทน

นาย ภูมิ จียรวิริยะพันธ์


ดู 4 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

ครูโขน

GROUPIE

bottom of page